บอกเลิกจ้าง…บาปไหม และทำไมคนบอกต้องเป็นคุณ?

Published on
Written by

 

Outplacement บอกเลิกจ้าง Tell Manager LHH Thailand

               จากประสบการณ์ในการทำ Outplacement มายาวนานกว่า 23 ปี ของ LHH Thailand คำถามที่มักได้ยินเกี่ยวกับการบอกเลิกจ้างคือ “บาปไหม…ยุติธรรมรึเปล่า?” ในวันบอกเลิกจ้าง (Notification Day) Manager หรือ Team leader จะเป็นผู้รับหน้าที่ในการบอกเลิกจ้าง เราเรียกหน้าที่เฉพาะกิจตรงนี้ว่า “Tell manager”  มักถูกมองในแง่ลบว่าเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้บอกข่าวร้าย (A person who got assigned to deliver bad news)  แต่ความจริงแล้ว Tell manager มีหน้าที่ในการดูแลพนักงานที่ต้องบอกเลิกจ้าง และพนักงานที่ยังอยู่  เพราะ ผู้ที่เหมาะสมในการรับบทบาท Tell manager ควรมีความใกล้ชิดกับพนักงานในทีม หรือ เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของพนักงานที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากรู้จัก คุ้นเคยกับพนักงานเป็นอย่างดี ดังนั้น คุณและอีกหลาย ๆ คนที่เข้ามาทำหน้าที่เฉพาะกิจตรงนี้ อาจมีความรู้สึกบาป และเกิดความเครียดขึ้น เพราะต้องรับมือกับการเตรียมการบอกเลิกจ้างให้รัดกุม และรับมือกับพนักงานที่ยังอยู่กับองค์กรให้ไม่เกิดคลื่นใต้น้ำหรือสภาวะอารมณ์ที่เกิดจากเหตุการณ์ จนส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

ความกังวลเรื่องของ บาป-บุญ ในกรณีที่ต้องมีการบอกเลิกจ้างนั้นจึงเป็นเรื่องของความรู้สึก (Emotion) การทำงานร่วมกันย่อมก่อให้เกิดความผูกพัน อนึ่ง แม้คุณจะไม่รู้จักพนักงานคนหนึ่งดีพอ ที่จะให้มีความรู้สึกผูกพันใด ๆ มากนัก แต่ก็คงอดคิดไม่ได้ว่า เขาเป็นคนอย่างไร และเขาสมควรได้รับสิ่งนี้ไหม แต่สิ่งที่ต้องตระหนักมากที่สุดในการบอกเลิกจ้าง ไม่ใช่ความกังวลในเรื่องของ บาป- บุญ ที่สำคัญบทบาทดังกล่าวมิได้เกิดมาจากการกระทำที่เป็นเหตุผลส่วนตัว หรือความเกลียดชังต่อพนักงานแต่อย่างใด แต่เป็นผลพวงอย่างหนึ่งที่เกิดตามมาจากการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ เป็นเรื่องของความเหมาะสม เป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนทักษะให้สอดคล้องกับธุรกิจที่ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ดังเช่นสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นเรื่องของการพิจารณา คำนึงถึงกฎหมาย และ ผู้มีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพราะการบอกเลิกจ้างที่มีประสิทธิภาพ คือการให้เกียรติพนักงานที่เคยได้ร่วมงานกันมาแต่ต้องลาจากกัน เพราะเหตุผลทางด้านธุรกิจและเศรษฐกิจจึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างองค์กร และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อองค์กรให้กับพนักงานที่ยังอยู่ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงองค์กร เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร และในฐานะผู้นำ การเป็น Tell manager ควรหาวิธีในการลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างหรือในภายหลังการบอกเลิกจ้าง อาทิ การจัดการกับอารมณ์ เศร้า โกรธ และเสียใจ การรับมือกับพนักงานที่มีอิทธิพลในหมู่เพื่อนร่วมงาน และการรักษาความสัมพันธ์ให้เกิดความรู้สึกดีทั้ง 2 ฝ่าย

หากวันหนึ่งคุณต้องเป็นผู้รับหน้าที่บอกเลิกจ้าง ความกังวลเรื่องศีลธรรมและการผิดบาปควรเป็นเรื่องรอง แต่ควรมุ่งความสนใจไปที่การส่งพนักงานที่เคยร่วมงานด้วย ให้มีความรู้สึกภาคภูมิใจต่อองค์กรในวันที่ต้องสิ้นสุดการเป็นพนักงาน ไม่ว่าจะด้วยการดำเนินการอย่างถูกกฎหมาย และเป็นธรรมโดยปรึกษากับฝ่ายกฎหมายของบริษัท หรือการใช้บริการจากที่ปรึกษาในการทำ Outplacement เพื่อการบอกเลิกจ้างอย่างมีประสิทธิภาพและใช้บริการสานต่ออาชีพ (Career transition) เพื่อช่วยหางานใหม่ เพิ่มโอกาสให้กับพนักงานผู้ที่ได้รับผลกระทบได้งานที่เหมาะสมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะเมื่อคุณส่งพนักงานให้ก้าวสู่อีกหนึ่งบทบาทใหม่ได้ดีแล้ว ความกังวลเรื่องบาปและความรู้สึกผิดจะหายไปด้วย

 

ติดต่อ LHH Thailand เพื่อให้คำปรึกษา ด้าน Outplacement service และ บริการสานต่ออาชีพ (Career transition)
ได้ที่ 022586930-35 และ [email protected] 
ติดตามข่าวสาร และกระแสการบอกเลิกจ้างได้ที่:
Facebook: Lee Hecht Harrison Thailand 
LinkedIn: LHH Thailand