แนวทางการรับมือกับคำถามจากพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง

Published on
Written by

การแจ้งเรื่องการจ้างออก (Layoff) กับพนักงานที่ถูกบอกเลิกจ้างไม่ใช่เรื่องง่ายและส่วนใหญ่หัวหน้างานจะต้องเป็นผู้แจ้ง ทำให้บางครั้งเกิดความกังวลค่อนข้างสูงทั้งฝ่ายผู้บอกและผู้ที่ถูกบอกเลิกจ้าง เพราะหัวหน้างานไม่ได้มีประสบการณ์การแจ้งเรื่องการจ้างออก ประกอบกับทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอีกด้วย

ดังนั้นบทสนทนาต้องครบถ้วน หนักแน่นและตรงไปตรงมาว่าว่าบริษัทได้ตัดสินใจยุติการจ้างงานเป็นที่เรียบร้อย เพราะพนักงานที่ถูกบอกเลิกจ้างมักไม่เชื่อว่าตัวเองจะถูกไล่ออก และไม่คิดว่าตัวเองสมควรถูกไล่ออก การดำเนินการต้องทำด้วยความเมตตาและเคารพพนักงาน

คำถามที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการบอกเลิกจ้าง

ทำไมต้องเป็นตัวเขาที่ถูกเลือก

การพูดอ้อมค้อมทำให้พนักงานที่ถูกบอกเลิกจ้างเชื่อว่ายังสามารถต่อรองได้ ขอโอกาสปรับปรุงเพื่อให้ผลลัพธ์ที่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ จะเกิดคำถาม ทำไมต้องเป็นตัวเขาที่ถูกเลือก คำตอบยิ่งต้องยืนยันที่ประเด็นเดียวคือเหตุผลของการถูกบอกเลิกจ้างโดยไม่มีรายละเอียดที่เป็นการตำหนิพนักงาน บทสนทนาต้องแสดงถึงความห่วงใยจากใจจริงและเชื่อมั่นว่าเขาจะพบตำแหน่งที่เหมาะสมกับตัวเองมากกว่าในอนาคต

สิทธิประโยชน์และค่าชดเชยต้องได้เท่าไร

ถึงแม้ว่าพนักงานที่ถูกบอกเลิกจ้างจะไม่ได้ถามออกมาตรง ๆ แต่เป็นคำถามที่ทุกคนมีในใจ ดังนั้น HR ต้องอธิบายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยแจ้งเป็นลำดับคือ

  1. ค่าชดเชยตามกฎหมายตามอายุงาน
  2. ค่าบอกเลิกจ้างล่วงหน้าหรือเรียกว่าค่าตกใจ ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทก็จะพิจารณาให้แม้ว่าจะเป็นมีการบอกล่วงหน้าก็ตามอาจจะเป็น 30 วันหรือ 60 วันแล้วแต่การพิจารณาของนายจ้าง
  3. เงินอื่น ๆ ที่พึงได้ เช่น เงินคอมมิชชั่น วันพักร้อนที่ไม่ได้ใช้นับถึงวันสุดท้ายของการทำงาน โบนัส หุ้น
  4. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และคำแนะนำนำให้นำออกหรือคงค้างไว้
  5. เงินทดแทนกรณีว่างงานจากประกันสังคม และขั้นตอนการรายงานตัว
  6. การคำนวณการจ่ายภาษีและคำแนะนำ
  7. วันสุดท้ายของการทำงาน
  8. เงินค่าชดเชยทั้งหมดจ่ายในวันสุดท้ายของการทำงาน โดยโอนหรือเช็ค
  9. การติดต่อบริษัทภายหลังในกรณีที่ต้องการส่ง ภงด. ให้ หรือกรณีอื่น ๆ
  10. การช่วยเหลืออื่น ๆ หลังจากถูกออกจากงาน เช่น ให้การฝึกอบรมในการเตรียมตัวในการหางาน (Outplacement Program)

หางานต่อยังไง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานที่ถูกบอกเลิกจ้างทำงานกับบริษัทมาเป็นระยะเวลานาน และไม่ได้มีโอกาสสมัครงาน หรือสัมภาษณ์งานมาเลย ผู้บอกเลิกจ้างควรพอจะทราบความถนัดของพนักงานที่ถูกบอกเลิกจ้างให้คำแนะนำเพื่อช่วยพนักงานที่ถูกบอกเลิกจ้างให้เล็งเห็นโอกาสในการหางาน หรือแนะนำให้เข้าโปรแกรมการฝึกอบรมการเตรียมตัวในการหางาน (Outplacement Program) เพราะลูกจ้างจะเข้าใจกระบวนการหางานในปัจจุบัน ขั้นตอนการเขียน Resume การสัมภาษณ์และตลาดแรงงานที่เหมาะสมกับพวกเขา

การถูกจ้างออกทำให้เสียประวัติการทำงานหรือไม่

ในความเป็นจริงแล้วส่วนใหญ่บริษัทแจ้งเหตุผลการจ้งออกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทิศทางการดำเนินธุรกิจบ้าง ปรับโครงสร้างบริษัท มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แทนแรงงาน ดังนั้นการการถูกจ้างออกจึงไม่ใช่การให้ออกเพราะการประเมินผลงาน

ถ้าสมัครงานใหม่จะถูกลดเงินเดือนมั้ย

คำถามนี้ฟันธงเลยไม่ได้ว่าถูกลดหรือไม่ถูกลดเงินเดือน แต่ไม่ใช่เพราะสาเหตุจากการถูกเลิกจ้าง แต่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานใหม่และนโยบายโครงสร้างเงินเดือนของแต่ละบริษัทที่สมัคร เช่น เคยทำงานในบริษัทข้ามชาติที่เงินเดือนค่อนข้างสูง และกำลังจะสมัครกับบริษัทที่เจ้าของเป็นคนไทย ดังนั้นโครงสร้างเงินเดือนจึงค่อนข้างแตกต่างกัน ต้องพิจารณาว่ารับได้หรือไม่ นอกจากนั้นอาจจะมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ทำให้มีผลต่อฐานเงินเดือน เช่น

  • ถ้าสมัครงานในตำแหน่งที่เหมือนเดิมในอุตสาหกรรมเดิม แต่มีประสบการณ์มาแล้วเยอะมาก เลือกที่จะสมัครงานตำแหน่งที่สูงกว่าเดิม ความเป็นไปได้ที่จะได้เงินเดือนสูงกว่าเดิม และตำแหน่งสูงกว่าเดิมก็เป็นไปได้ หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงหรือสูงกว่าเดิมนิดหน่อยถ้าตำแหน่งเท่าเดิม ขึ้นอยู่กับการต่อรองและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเอง
  • ถ้าสมัครงานในตำแหน่งที่เหมือนเดิมแต่เปลี่ยนอุตสาหกรรมไปเลย เงินเดือนจะได้มากกว่าเดิม เท่ากัน หรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับการเตรียมตัวทำความเข้าใจในธุรกิจนั้น ๆ ให้ดีก่อนไปสัมภาษณ์งาน โอกาสที่จะได้เงินสูงขึ้นก็มีความเป็นไปได้เยอะทีเดียว
  • ถ้าสมัครงานในตำแหน่งที่ไม่เคยทำและคนละสายงานกับที่เคยทำมา เช่น จากการเป็นวิศวกรอุตสาหกรรมแต่ต้องการไปเป็นโปรแกรมเมอร์และมีประสบการณ์อยู่บ้างจากความสนใจและไม่มีประกาศนียบัตรรับรอง แบบนี้แน่นอนที่สุดอาจจะไม่ได้งานนี้ หรือมองว่าเป็นการปรับตัวเพื่องานข้างหน้าก็ต้องไปเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรสร้างความน่าเชื่อถือ และอาจจะต้องยอมรับเงินเดือนที่น้อยกว่าเดิม

ดังนั้นการถูกลดเงินเดือนไม่ใช่ประเด็นจากการถูกออกจากงาน แต่เป็นที่การเตรียมตัวในการสมัครงาน Resume ดีเพียงพอมั้ย การเตรียมตัวสัมภาษณ์เป็นอย่างไร แนวโน้มของธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร การเข้าอบรมการเตรียมตัวในการหางาน (Outplacement Program) จะสามารถช่วยให้พนักงานที่ถูกบอกเลิกจ้างสามารถได้งานตามที่เหมาะสม ในระยะเวลาที่ดีกำหนดไว้  รวมทั้งอัตราเงินเดือนเป็นที่น่าพอใจอีกด้วย

หางานจากไหน เขียน Resume อย่างไร ต้องทำอะไรต่อ

เมื่อเริ่มคิดได้แล้วว่าอย่างไรก็ต้องเตรียมตัวไปต่อ คำถามถัดมาก็คือ หางานจากไหน ต้องใช้อะไรบ้าง เริ่มเขียน Resume ส่งไปตามเว็บไซท์ที่คุ้นเคย แล้วนั่งรอเรียก ส่งไปเยอะแยะทำไมเงียบจัง เริ่มกังวลใหม่ถ้าไม่ได้งานใน 2-3 เดือนนี้ทำยังไงต่อ เครียดขึ้นสมองกับเรื่องหางานใหม่อีก เริ่มกังวลว่าบริษัทที่เปิดรับงานได้รับ Resume เรามั๊ยนะ หรือเปิดอ่าน Resume แล้วแต่ไม่ติดต่อมา เพราะ Resume ไม่ดีพอหรือปล่าวนะ ต้องทำอย่างไร สมัครไปกับบริษัทโดยตรงก็ไม่มีช่องทาง จะทำอย่างไรต่อดี การเข้าอบรมการการเตรียมตัวในการหางาน (Outplacement Program) จะสามารถช่วยให้พนักงานที่ถูกบอกเลิกจ้างสามารถวางแผนการเขียน Resume ให้สอดคล้องประสบการณ์ ทักษะ ความสามารถ และกระบวนการสรรหางาน การสมัครงาน และการสัมภาษณ์งานอีกด้วย ทำให้ลดอัตราการว่างงานได้อีกด้วย

บริษัทออกจดหมายรับรองการทำงานให้ได้มั้ย

เมื่อพนักงานพ้นสภาพการทำงานไปแล้ว บริษัทควรต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้พนักงาน ตามประมวลกฏหมายแพ่ง (ปพพ.) มาตรา 585 ที่กล่าวว่า “เมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไร และงานที่ทำนั้นเป็นอย่างไร” ดังนั้นเมื่อพนักงานที่ถูกบอกเลิกจ้างขอหนังสือรับรองการทำงานจากนายจ้าง จึงถือเป็นเรื่องที่นายจ้างสามารถทำได้เลยทุกกรณีโดยที่นายจ้างระบุเพียงเรื่องหลัก ๆ ตามที่กฏหมายกำหนดไว้ เช่น พนักงานเริ่มทำงานเมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่ ตำแหน่งอะไร หน่วยงานไหน ไม่เช่นนั้นนายจ้างจะเข้าข่ายมีความผิดได้

ถูกเลิกจ้างตอนอายุมากแล้ว จะหางานได้อย่างไร ใครจะมารับเข้าทำงาน

ในปัจจุบันนายจ้างส่วนหนึ่งชอบที่จะเลือกผู้สมัครที่ค่อนข้างมีอายุ เพราะเชื่อว่าผู้สมัครนี้จะอยู่กับบริษัทได้นานและน่าจะมีความเป็นอดทนและมีความรู้ ความสามารถหลากหลายมากมายทั้ง Soft skill และ Hard skill มีความเป็นผู้นำ สามารถบริหารจัดการทีมได้ สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตัวเอง สื่อสารภาษาอังกฤษหรือภาษาที่สามอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญต้องไม่เป็นคนตกยุค คือต้องเข้าใจเทรนด์โลก ใช้โซเชียลมีเดียได้เป็นอย่างดี ติดตามและพร้อมรับการการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวไปกับเทคโนโลยี ยืดหยุ่น พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่ยึดติดอยู่กับตำแหน่งที่เคยทำ พิจารณาฐานเงินเดือนที่เหมาะสม ถ้าผู้สมัครที่ค่อนข้างมีอายุมีแนวคิดที่ตกผลึกได้ตามที่กล่าวไว้ การตัดทอนลดเงื่อนไขและข้อแม้ที่คอยขัดขวางความก้าวหน้าเหล่านี้ ก็เท่ากับสร้างโอกาสได้งานใหม่มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ต้องใช้ Resume สร้างความน่าเชื่อถือเหล่านั้น

จะบอกคนที่บ้านอย่างไรดี

มีคนเป็นจำนวนมากไม่กล้าบอกคุณพ่อคุณแม่เพราะไม่อยากให้ท่านเป็นห่วง แล้วคิดว่าน่าจะหางานได้ภายใน 2-3 เดือนก็น่าจะเรียบร้อยดี ไม่กล้าบอกสามี-ภรรยาและลูก ๆ เพราะไม่อยากถูกมองว่ามีปัญหาที่ทำงาน ลองประเมินดูนะคะ ถ้าเราบอกคนในบ้านเท่ากับเราเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ระยะยาว และถือโอกาสปฏิวัติการใช้เงินสำหรับอนาคตไว้ด้วยเลย เพราะเราจำเป็นต้องประหยัดค่าใช้จ่าย วางแผนการจัดการชีวิตตัวเองและครอบครัวในช่วงของการหางาน และที่สำคัญถ้าคนในบ้านเป็นกำลังใจที่ดีให้กับเรา ทำให้การวางแผนดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ การใช้เงินที่เหมาะสม และความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจจากคนในบ้านทำให้เราก้าวไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็งและมีกำลังใจ

ทำอะไรต่อดี

คำถามลักษณะนี้น่าจะอยู่ในช่วงของความสับสน ไม่แน่ใจว่าข้อจำกัดที่มีอยู่จะถูกมองก่อน อาทิเช่น ลัษณะงานที่ทำอยู่ก่อนหน้านี้ค่อนข้างเฉพาะ อายุมากแล้ว จะได้เงินเดือนเท่าเดิมมั๊ย ต้องเดินทางไกลกว่าเดิม จะเข้ากับคนที่ทำงานใหม่ได้มั๊ย งานจะต้องหนักแน่ ๆ ความคิดเหล่านี้ทำให้เล็งเห็นโอกาสที่จะหางานใหม่ค่อนข้างน้อย ควรตั้งสติวิเคราะห์รอบ ๆ ตัวว่าตัวเรามีความสามารถอะไร ต่อยอดด้านไหนได้บ้าง รู้จักใครบ้างที่อาจจะสร้างโอกาสในการหางานได้เพิ่มขึ้น หรือมีหนทางอื่น มีทรัพยากรที่มีอยู่แล้วยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ เมื่อเวลาเกิดคำถามแบบนี้ โปรแกรมการเตรียมตัวในการหางาน (Outplacement Program) จะช่วยในการวิเคราะห์และเลือกแนวทางการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

ทำอย่างไรกับภาระหนี้สินที่มีอยู่

ส่วนนี้ต้องรวบรวมหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่หักลบกับจำนวนเงินที่ได้มาถ้ามากพอและยังคงเหลือสำหรับใช้จ่ายและเก็บสะสม แต่ถ้าไม่พอต้องมาแจกแจงเป็นความจำเป็นที่ต้องรีบเคลียร์ หรือทยอยจ่าย หรือจ่ายขั้นต่ำ ที่สำคัญต้องเผื่อค่าใช้จ่ายสำหรับช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ทำงาน

สรุป

ทั้งหมดข้อสงสัยจะสามารถคลี่คลายไปได้ เมื่อให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยในการวางแผน วางแนวทาง และสร้างความมั่นใจในการหางานที่เหมาะสมกับตัวเอง มีรายได้ที่เหมาะสม และสร้างสมดุลย์งานและการดำเนินชีวิตได้อย่างลงตัวยิ่งขึ้น

LHH (Lee Hecht Harrison) เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Outplacement และ Career Transition ดำเนินงานในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งให้บริการในการช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้างหรือต้องเปลี่ยนสายอาชีพภายในองค์กรและนอกองค์กร

LHH มีบริการ Outplacement และ Career Transition ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของพนักงานทุกระดับ ที่ต้องการพัฒนาอาชีพใหม่ให้สามารถก้าวข้ามขั้นตอนที่ท้าทายของการเปลี่ยนงานหรืออาชีพได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จโดยทีมที่ปรึกษาจาก LHH จะให้คำปรึกษาในเรื่องการพัฒนาทักษะและการเตรียมตัวสำหรับการสมัครงาน อาทิเช่น เทคนิคการสัมภาษณ์งาน การเขียนประวัติการทำงานอย่างย่ออย่างฉบับมืออาชีพ ทราบถึงข้อมูลตลาดงานในปัจจุบัน การสร้างเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ และอื่น ๆ เพื่อให้พนักงานเริ่มต้นในสายงานใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ [email protected] หรือโทร 022586930-35