สร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กรผ่านบทสนทนา

Published on
Written by

Coaching like conversation – Coaching culture

ตอนนี้วงการทรัพยากรมนุษย์กำลังพูดถึงการสร้างวัฒนธรรมการโค้ช  และสนับสนุนให้ผู้นำมีบทสนทนาที่เหมือนกับการโค้ช แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรารับรู้ถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องในเรื่องการโค้ชนี้มากน้อยแค่ไหน?

การให้ความสำคัญของวัฒนธรรมการโค้ชมาจากการยอมรับว่า องค์กรมีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้นำที่สามารถปรับเปลี่ยนความคิดและทักษะของตนได้อย่างทันท่วงทีเพื่อตอบสนองต่อสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 

จากเหตุการณ์โรคระบาด ทำให้หลาย ๆ ทีมต้องทำงานจากบ้าน และต้องห่างไกลจากการติดต่อโดยตรงกับหัวหน้า นอกจากนี้ยังมีความท้าทายมากมายที่เกิดขึ้นก่อนโรคโควิด-19 ระบาด และปัญหานั้นก็ยังไม่ได้หายไป เรายังคงต้องดิ้นรนร่วมกันไปอีกหลายยุคสมัยทั้งในที่ทำงานและการเปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญที่เกิดขึ้นภายในองค์กร เฉกเช่นเดียวกับที่เราต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและสิ่งแวดล้อมทางสังคม

 

เพื่อเผชิญหน้ากับกับแรงผลักดันเหล่านี้ เราต้องการผู้นำที่กล้าปฏิเสธวัฒนธรรมดั้งเดิมในการทำงานรูปแบบ Top-down แล้วมาสนับสนุนแนวทางการทำงานร่วมกันจากการพูดคุยสนทนาอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้นำที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับพนักงานแต่ละคน สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้กับทุกคนได้ มีส่วนร่วมกับมุมมองที่หลากหลาย ให้ข้อเสนอแนะที่มีความหมายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งหมดทั้งมวลนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างวัฒนธรรการโค้ชอย่างแท้จริง

หากผู้นำต้องการจะสร้างวัฒนธรรมการโค้ช   (Coaching culture) ให้กับองค์กร ควรจะเริ่มจากคุณสมบัติสามประการที่ “ต้องรู้” ของวัฒนธรรมการโค้ช (Coaching culture) ที่ไม่เพียง แต่จะอธิบายว่ามันคืออะไร แต่ยังรวมถึงเหตุผลที่คุณควรเริ่มสร้างทันที

 

    1. ทั้งหมดเริ่มต้นจากการเป็นผู้นำ

ผู้นำองค์กร ผู้นำทีม หรือหัวหน้าทีมต่าง ๆ ที่รับเอาวัฒนธรรมการโค้ชเข้ามาใช้ จะมีวิธีการสร้างบทสนทนาและวิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันออกไป ผู้นำเหล่านี้มักจะหลีกเลี่ยงความต้องการที่จะบอกสมาชิกในทีมว่าต้องทำอะไร และจะต้องทำอย่างไร กลับกันวัฒนธรรมการโค้ชจะปล่อยให้ทุกคนในทีมมีบทบาทในการหาทางแก้ปัญหา สิ่งนี้เองที่เป็นตัวสร้างความไว้วางใจและความผูกพัน

ในวัฒนธรรมการโค้ช ผู้นำจะรับหน้าที่เป็นบุคคลต้นแบบโดยการแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัวหรือประสบการณ์เกี่ยวกับความท้าทายต่างๆที่เคยเจอมา และที่สำคัญคือ การได้รับคำติชม (feedback) และการให้การสนับสนุนเพื่อการปรับปรุงในท้ายที่สุด ผู้นำที่แบ่งปันเรื่องราวของตนเองจะช่วยปลูกฝังคุณค่าของวัฒนธรรมการโค้ชเข้าไว้ในวัฒนธรรมองค์กรได้

นอกจากนี้การที่ผู้บริหารระดับอาวุโสมีความสามารถในวิธีการโค้ชที่ยอดเยี่ยมก็เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ทีมผู้บริหารต้องระบุเหตุผลได้อย่างแน่ชัดว่าทำไมองค์กรถึงต้องรับวิธีคิดแบบนี้เข้ามา และต้องมีความคาดหวังที่ชัดเจนให้กับผู้นำทีมต่าง ๆ ในเรื่องของการเรียนรู้และปรับใช้ทักษะใหม่ อย่างเช่น วัฒนธรรมการโค้ช

    1. วัฒนธรรมการโค้ชต้องมีผู้ออกแบบการเรียนรู้

แม้ว่าคุณต้องการให้ผู้นำในองค์กรของคุณเข้าใจในวัฒนธรรมการโค้ช แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะคาดหวังให้ผู้นำทุกคนบรรลุทักษะการโค้ชได้ในระดับเดียวกัน จึงต้องออกแบบการเรียนรู้ทักษะการโค้ชให้เข้ากับบทบาทของผู้นำแต่ละคน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่จำเป็นที่ต้องใช้ทักษะนี้จะเข้าใจและใช้มันได้อย่างถูกต้อง

อย่างเช่น

สำหรับการเทรนนิ่งให้กับโค้ชภายในองค์กร องค์กรนั้นอาจต้องพิจารณาหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจาก International Coaching Federation (ICF) เพื่อที่จะให้บุคลากรได้รับทักษะและความสามารถที่อยู่สูงกว่าความคาดหมาย

ใบประกาศณียบัตรดูเหมือนจะไม่ได้เป็นความจำเป็นสิ่งเดียวในการอบรมผู้นำให้มีทักษะการโค้ชเพื่อที่จะให้ทีมมีส่วนร่วมและพัฒนาไปด้วยกัน ผู้นำต้องได้รับทักษะขั้นพื้นฐานของการโค้ชควบคู่ไปกับเสียงตอบรับจากเพื่อนร่วมงานเพื่อรักษาทักษะให้มีความแหลมคมอยู่เสมอ

การสนับสนุนภายในองค์กรสำหรับผู้นำที่กำลังพัฒนาวัฒนธรรมการโค้ชส่วนมากมักมาจากผู้ปฏิบัติงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายพัฒนาองค์กรและฝ่ายอบรมและพัฒนา ในขณะที่กลุ่มงานดังกล่าวมีความจำเป็นต้องรู้ทักษะการโค้ช พวกเขาต้องมีพื้นฐานที่แน่นหนารองรับในการใช้ทักษะการโค้ช บทบาท จรรยาบรรณ และวิธีการโค้ชเพื่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

ผู้ออกแบบการเรียนรู้ยังต้องให้โอกาสผู้นำในการฝึกฝนทักษะการโค้ชเป็นประจำ โดยการฝึกฝนสามารถทำผ่านรูปแบบการประชุมทั่วไปเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความท้าทายที่มาจากการโค้ช ฝึกฝนการโค้ชระหว่างเพื่อนร่วมงาน แม้กระทั่งการให้ผู้นำองค์กรฝึกทักษะนี้จริง ๆ กับโค้ชมืออาชีพ

    1. สร้างสังคมแห่งการหล่อหลอมวัฒนธรรมการโค้ช*

สังคมการทำงานที่ให้ความสำคัญกับการโค้ชและการเพิ่มพูนทักษะอย่างต่อเนื่องจะมั่นใจได้ว่าการโค้ชจะรวมเข้ากับวิธีการดำเนินงานขององค์กรอย่างสมบูรณ์ ซึ่งแพล็ตฟอร์มทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็สามารถช่วยให้ผู้นำเชื่อมต่อและเรียนรู้แนวทางการโค้ชจากกันและกันได้ในสถานการณ์ที่ต้องรับมืออย่างเฉพาะเจาะจง นอกจากนี้ยังอาจช่วยให้สามารถติดตามและรายงานการมีส่วนร่วมในการโค้ชได้อย่างเป็นทางการทั้งจากโค้ชภายในองค์กรและโค้ชผู้เชี่ยวชาญภายนอก

นอกจากนี้ การตระหนักถึงพฤติกกรรม และรางวัลที่ได้จากมาการโค้ชภายในองค์กร ยังสามารถเสริมสร้างความสําคัญของการโค้ช และยังคุ้มค่ากับผลลัพธ์ที่ได้

ท้ายที่สุดแล้ววัฒนธรรมการโค้ชก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำวิธีคิดต่าง ๆ ของความท้าทายในแต่ละวันของเรา เกี่ยวกับการเปลี่ยนความท้าทายที่ยากลำบากให้เป็นกลยุทธ์และทางแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว วัฒนธรรมการโค้ชเป็นหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ ในขณะที่ยังทำให้พนักงานมีความมั่นใจและมีส่วนร่วมกับไอเดียที่เกิดขึ้น

การสร้างวัฒนธรรมการโค้ชต้องอาศัยความเพียรพยายาม ต้องใช้การลงทุนในการฝึกอบรมจากโค้ชผู้เชี่ยวชาญภายนอก ต้องมีศรัทธาและความรับผิดชอบในระดับองค์กร และรายละเอียดของการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร (Coaching Conversation) ต้องเป็นเรื่องที่ไม่ถูกเผยแพร่ออกไป เนื่องจากความเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคล

อย่างไรก็ตาม องค์กรที่ลงทุนในการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชจะเห็นผลตอบแทนที่สูงมาก จากการมีส่วนร่วมของพนักงานที่เพิ่มมากขึ้น จะเห็นผลลัพธ์ในการทำงานมากขึ้นและมีนวัตกรรมเกิดในองค์กรมากขึ้น

 

 

สอบถามบริการ Coaching & Leadership development ได้ที่ 022586930-35 และ [email protected]

บทความจาก LHH Artilcles

แปลและเรียบเรียงโดย กิติยา  ภู่ทอง (Executive Social Media Administrator)