การดูแลพนักงานหลังออกจากงาน

Published on
Written by

บริษัทหนึ่ง มีความจำเป็นต้องปรับโครงสร้างด้วยเหตุผลทางธุรกิจ ทำให้มีผลต่อการเลิกจ้างพนักงาน และเกิดกระบวนการเลิกจ้างที่ไม่มีความเชี่ยวชาญพอ จนเกิดผลกระทบต่อลูกจ้างในทางลบเป็นอย่างมาก ที่หนักไปกว่านั้นคือ ลูกจ้างเป็นคนที่มีความใกล้ชิดกับลูกค้าและมีการบอกต่อ ซึ่งก็หมายถึงการที่พวกเขามองว่าเป็นการจัดการบอกเลิกจ้างที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพ สร้างความไม่พอใจให้กับลูกค้าไปด้วย และเริ่มทยอยถอนตัวหรือไม่ต่อสัญญา ทำให้บริษัทอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออก

ผู้นำบริษัทวิเคราะห์การจัดการครั้งนี้ และให้เป็นบทเรียนที่สำคัญในการจัดการครั้งต่อ ๆ ไป พร้อมทั้งเล็งเห็นว่าต้องให้ความสำคัญกับลูกจ้างที่มีผลกระทบอย่างจริงจัง ถึงกับออกนโยบายว่า ถ้าบริษัทต้องบอกเลิกจ้างพนักงาน และพนักงานที่คัดสรรมาแล้วนั้นเป็นคนที่มีความสามารถ เป็นผู้เชี่ยวชาญ แผนกบุคคลจะต้องหางานที่ใหม่ให้กับพนักงานคนนั้น ๆ ก่อน หลังจากนั้นค่อย ๆ ปรับกลยุทธ์ในการทำความเข้าใจกับลูกค้า พร้อมบอกนโยบายที่วางไว้ ทำให้ลูกค้าค่อย ๆ ทยอยกลับมาใช้บริการและซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

จากการปรับกลยุทธ์ครั้งนี้ทำให้ธุรกิจของบริษัทเติบโตอย่างเสถียรและยังคงความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าอีกด้วย 

จะเห็นได้ว่าการดูแลพนักงานหลังออกจากงานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และพนักงานที่มีผลกระทบส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกโกรธ สับสน กังวลและต่อต้าน การจัดการที่ดี เหมาะสม และไม่เป็นภาระของแผนกบุคคลมากเกินไป จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง การให้บริษัทที่มีความชำนาญในการจัดการเข้ามาช่วยสนับสนุนการจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พนักงานเองก็จะรู้สึกขอบคุณบริษัทที่ไม่ทอดทิ้งพวกเขาในยามที่เกิดความไม่มั่นคงในชีวิต  

กระบวนการให้ความช่วยเหลือโดยที่ปรึกษาที่มีความชำนาญ โดยจะเริ่มตั้งแต่ 

  • พูดคุยสภาวะทางอารมณ์ ช่วยให้ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะปัจจุบัน เป็นการสร้างความมั่นใจในตัวเอง 
  • มีความเข้าใจความจำเป็นขององค์กรกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความมั่นคง 
  • ให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำการเตรียมตัวทางด้านการเงินในช่วงที่ไม่ได้ทำงาน 
  • ให้มองเห็นโอกาสงานในตลาดแรงงานในปัจจุบัน 
  • มีขั้นตอนการเตรียมตัวตลอดจนถึงการสัมภาษณ์งานและการต่อรองเงินเดือน
  • การเขียนเรซูเม่อย่างไรให้เป็นที่ต้องการของผู้รับสมัครหรือ HR ควรต้องเพิ่มทักษะและความสามารถที่ควรเขียนในเรซูเม่ให้ตรงกับงานที่ต้องการสมัคร 
  • Branding ตัวเองผ่าน LinkedIn เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างตัวตนผ่านโซเชียลมีเดียที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของผู้รับสมัคร 
  • ช่องทางในการหางาน ในแหล่งตลาดต่างๆที่มีอยู่กว้างมากขึ้น ตรงกับความต้องการของพนักงานมากขึ้น เพื่อกำหนดงานที่ใช่ และน่าจะเป็นองค์กรที่ปรับตัวเข้าได้ด้วยดี 
  • ให้คำแนะนำ เทคนิคและทิปในการสัมภาษณ์งาน รวมทั้งฝึกฝนการสัมภาษณ์งานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น
  • ให้คำแนะนำในการต่อรองเงินเดือนอย่างเหมาะสม รวมทั้งเทคนิคในการต่อรอง 
  • มีแอพพลิเคชั่นสนับสนุนให้ความรู้ ให้การเรียนรู้ การ upskills / reskills ฟรี และเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองตามเวลาที่กำหนดเอง  
  • เชื่อมเครือข่ายขององค์กรกับผู้รับสมัคร เพื่อสร้างโอกาส และขยายตลาดแรงงานเพิ่มให้อย่างกว้างขวาง 

ที่กล่าวมาเป็นเพียงบทย่อที่นำมาเล่าสู่กันฟัง การสร้างโอกาสให้พนักงานที่ถูกบอกเลิกจ้างโดยบริษัทที่มีระบบ ขั้นตอนที่ใช้ได้จริง และมีบุคลากรที่มีความชำนาญในกระบวนการ รวมทั้งเข้าใจตลาดแรงงานเป็นอย่างดี พนักงานได้งานตามความคาดหวัง บริษัทเองได้มีโอกาสตอบแทนผลงานที่พนักงานเหล่านั้นได้ทำไว้ให้ และสร้างภาพพจน์ที่ดีไม่เฉพาะต่อพนักงานเหล่านั้น แต่ในสายตาของลูกค้าด้วย