สิทธิของผู้ถูกบอกเลิกจ้างกรณียินยอม (Resign) และกรณีไม่ยินยอม (Termination)

Published on
Written by

มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าลูกจ้างคือใคร ลูกจ้าง คือ บุคคลซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างและอยู่ภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน ไม่ว่าสัญญานั้นจะทำเป็นหนังสือ หรือตกลงกันแบบปากเปล่าก็จะถือเป็นสัญญาจ้างแรงงานทั้งสิ้น เพราะทั้งสองฝ่ายตกลงทำงานให้นายจ้าง และนายจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างในสัญญาจ้างไม่ว่าจะเป็น ฟรีแลนซ์ พนักงานรายวัน ผู้รับจ้าง พนักงานชั่วคราว พนักงานพาร์ทไทม์ ลูกจ้างประจำ หรืออื่นๆก็ตาม เมื่ออยู่ภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างจึงได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานอย่างเท่าเทียมกัน

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 การลาออก หรือการเลิกจ้างต้องทำอย่างไร บอกเลิกสัญญากันได้ตอนไหน ถ้าทำไม่ถูกต้องจะมีผลตามมายังไง

ความหมายของการลาออก

คือการที่ลูกจ้างตัดสินใจที่จะยุติการทำงานให้กับนายจ้างซึ่งโดยปกติแล้วถือเป็นความสมัครใจของตัวลูกจ้างเอง และเพื่อให้นายจ้างหาคนมาแทนได้ ดังนั้นจึงควรมีการแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน 

ความหมายของการบอกเลิกสัญญาจ้าง คือการยุติสัญญาจ้างกับลูกจ้างและถือเป็นการตัดสินใจของนายจ้างและเป็นเหตุผลทางการดำเนินกิจการก็ตาม ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชย ค่าบอกล่วงหน้าและอื่นๆเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17  

ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดแจ้งยุติสัญญาจ้าง ทั้งนายจ้างและลูกจ้างต้องทำการเลิกสัญญากันให้ถูกต้องตามแบบของกฎหมาย ดังนั้นการที่นายจ้างเป็นผู้บอกเลิกสัญญาจ้างกับลูกจ้างซึ่งถือเป็นเรื่องที่ทำได้ แต่การให้ลูกจ้างเซ็นต์หนังสือลาออกในกรณีที่บอกเลิกจ้างจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทางกฎหมายในอนาคต ควรเป็นเรื่องที่ต้องการตกลงของทั้งสองฝ่ายเช่น 

  • ในกรณีที่ลูกจ้างเลือกรับ package โดยสมัครใจ หรือ   
  • ต้องการรักษาสถานะไม่ให้มีข้อเสียหายในประวัติการทำงาน หรือ 
  • ปฏิเสธตำแหน่งงานใหม่ที่บริษัทเสนอให้ และลาออก หรือ 
  • Package ที่ได้รับมีความน่าสนใจกว่า หรือ 
  • Early Retirement program 

ซึ่งในกรณีเช่นที่กล่าวมานั้น ตัวลูกจ้างเองสมัครใจที่จะเป็นฝ่ายลาออก ซึ่งค่าชดเชยก็เป็นไปตามที่ตกลงกัน และจะไม่น้อยไปกว่าค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 

แต่ในกรณีที่นายจ้างตัดสินใจบอกเลิกสัญญาจ้าง และจ่ายค่าชดเชยตามหรือมากกว่ากฎหมายกำหนดและเป็นธรรม ก็เป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างที่สามารถทำได้  

ดังนั้นการให้ลูกจ้างเซ็นต์หนังสือลาออกอาจถูกต้องหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง แต่ในกรณีที่ไม่มีความเห็นร่วมกันระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง เช่น ลูกจ้างไม่ตกลงที่จะลาออก การให้ลูกจ้างเซ็นต์หนังสือลาออกอาจทำให้เกิดความไม่พอใจและความขัดแย้งอื่นๆ ขึ้นได้ ซึ่งอาจจะรวมถึงการเรียกร้องความเสียหายหรือการนำเรื่องนี้สู่ศาล 

สิทธิของสิทธิของผู้ถูกเลิกจ้างกรณียินยอม (Resign) 

ในบางกรณีค่าชดเชยอาจจะจูงใจและน่าสนใจกว่าการเลิกจ้างและได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย เพราะบริษัทพิจารณาแล้วว่า เมื่อลูกจ้างพอใจกับผลประโยชน์ที่พึงได้ การตัดสินใจย่อมเป็นการสมัครใจ และเกิดข้อขัดแย้งในอนาคตได้น้อยมาก 
 

สิทธิของผู้ถูกเลิกจ้างกรณีไม่ยินยอม (Termination)

โดยปกติแล้วบริษัทพิจารณาจากความจำเป็นของบริษัท และกฎหมายก็คุ้มครองนายจ้างในกรณีนี้เช่นเดียวกัน เช่นยกเลิกตำแหน่งที่ลูกจ้างปฏิบัติอยู่เพราะยุติการทำงานในส่วนนั้นๆ ดังนั้นบริษัทจึงมีความจำเป็นต้องเลิกจ้าง และไม่สามารถหาตำแหน่งงานที่เหมาะสมให้ได้ ดังนั้นการจ่ายค่าชดเชยจึงเป็นไปตามกฎหมาย 

การจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย 

  1. เงินชดเชยซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่ระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้กับบริษัท ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 กำหนดไว้ 
  2. สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 
  3. ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้ในระหว่างปี ซึ่งจะต้องมีการคำนวณโดยเฉลี่ย 
  4. ค่าจ้าง, ค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุดที่ค้างชำระ (ถ้ามี) 
  5. คืนหลักประกัน (ถ้ามี) 

ในส่วนที่จะแตกต่างกันอีกหนึ่งเรื่องคือเงินชดเชยจากประกันสังคม 

  • กรณีลาออก ลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท 
  • ถูกเลิกจ้าง - ได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน ยกตัวอย่างเช่น หากค่าจ้าง 10,000 บาท จะได้เงินชดเชยเดือนละ 5,000 บาท 

ดังนั้นความแตกต่างในเรื่องนี้ถือเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องแจ้งให้ลูกจ้างรับทราบเพื่อให้ลูกจ้างนำมาประกอบการตัดสินใจ และเพื่อไม่ให้มีการขัดแย้งในภายหลังและนำไปสู่การฟ้องร้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซึ่งอาจจะก่อความเสียหายมากกว่าอีกด้วย 

ดังนั้นการวางแผนการบอกเลิกจ้างจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อน และมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อภาพลักษณ์ของบริษัท และค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดการฟ้องร้อง รวมทั้งเสียเวลาค่อนข้างมาก การให้บริษัทที่ให้บริการทางด้าน Outplacement ช่วยวางแผนจึงเป็นการลดความเสี่ยงต่างๆเหล่านั้น และยังสร้างความมั่นใจให้กับบริษัทอีกด้วย เพราะบริษัทเหล่านั้นมีความชำนาญและประสบการณ์มากกว่าอยู่แล้ว