Organizational Resilience (ความยืดหยุ่นขององค์กร)

Published on
Written by

“ความยืดหยุ่น” เป็นคำที่ถูกพูดถึงอย่างมากในโลกธุรกิจปัจจุบัน คุณคงเคยได้ยินจากนักวิเคราะห์ธุรกิจรวมถึงผู้บริหารระดับสูงหลายๆคนกล่าวบ่อยครั้งว่า ความยืดหยุ่นเป็นคุณสมบัติที่ทุกๆองค์กรพึงมี ซึ่งความยืดหยุ่นนี้เอง จะนำพาองค์กรไปสู่ความมั่นคงและ พัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน

เมื่อได้ยินคำว่า “ความยืดหยุ่น” คำถามหลากหลายมักจะเกิดขึ้น อาทิเช่น อะไรคือคุณสมบัติขององค์กรที่มีความยืดหยุ่น และเมื่อองค์กรเผชิญหน้ากับปัญหาที่เกิดขึ้น จะมีวิธีการสนับสนุนและแก้ไขปัญหานั้นๆได้อย่างไร? ใครควรจะเป็นผู้เริ่มสร้างความยืดหยุ่นภายในองค์กร? ระดับบุคคลหรือระดับองค์กร? อย่างไรก็ตามน้อยคนที่บอกวิธีการแก้ไขปัญหา และตอบคำถามที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ทุกท่านสามารถหาคำตอบได้จากบทความดังต่อไปนี้

แนวคิดเรื่องความยืดหยุ่นนั้นค่อนข้างคลุมเคลือสำหรับหลายๆคนที่อยู่ในโลกธุรกิจ โดยเฉพาะเวลาที่คุณต้องการหาคำจำกัดความ คุณมักจะได้คำตอบที่หลากหลาย อย่างไรก็ตามในมุมมองของนักวิเคราะห์บางกลุ่มกล่าวว่า องค์กรที่มีความยืดหยุ่นอย่างแท้จริงนั้นมักจะเป็นองค์กรที่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน และมีการประเมินประสิทธิผลของแผนธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นองค์กรที่มี “ความกล้า” ที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการต่างๆที่มีอย่างต่อเนื่องในโลกธุรกิจปัจจุบัน และ“กล้า” ที่จะยอมรับความเสี่ยงเพื่อให้องค์กรเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินในอนาคต ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าความยืดหยุ่นที่แท้จริงขององค์กรนั้นคือ ความสามารถเฉพาะตัวของบุคคลและองค์กรในการปรับเปลี่ยนตามสภาวะของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้เข้าใจถึงคำนิยามของ “ความยืดหยุ่น” เพื่อให้องค์กรได้แนวทางปฎิบัติที่ดีที่สุด LHH ได้ทำการสำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลอาวุโส ทั้งหมด 700 คน จาก 7 ประเทศในยุโรป เพื่อวัดความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญ รวมถึงศึกษากลยุทธ์ที่องค์กรต่างๆใช้ในการแก้ปัญหากับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง หรือ ความยืดหยุ่นขององค์กร

ความท้าทายของการทดสอบความยืดหยุ่นในองค์กร

มีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมากมายที่กำลังทดสอบการแก้ไขปัญหาขององค์กรในปัจจุบัน การสำรวจพบว่าความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อความยืดหยุ่นขององค์กรมาจาก 2 ปัจจัย คือ

  1. การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร
  2. ปัจจัยอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมขององค์กร

ความท้าทายภายในองค์กรประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น ความต้องการของจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้นซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 60 และ การจัดการผลที่ตามมาของพนักงานที่มีอายุมากขึ้นซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 41 ปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมขององค์กรส่วนใหญ่ ได้แก่ กฎระเบียบของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น คิดเป้นร้อยละ 56 และความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 48

ถีงแม้ว่าองค์กรต่างๆได้เผชิญหน้าต่อความเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน แต่พวกเขายอมรับว่า ความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง หรือความยืดหยุ่นขององค์กรนั้น เป็นไปได้ไม่ค่อยดีนัก ทั้งนี้ 60% ขององค์กร ระบุว่าความต้องการที่เพิ่มขึ้นของจำนวนพนักงานสำหรับสภาวะการทำงานที่ยืดหยุ่นเป็นข้อกังวลอันดับหนึ่ง แต่มีเพียง 30% ที่ระบุว่าพวกเขาพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายดังกล่าว ซึ่งแนวโน้มเดียวกันถูกสร้างขึ้นพร้อมกับความท้าทายที่สำคัญอื่น ๆ เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่ากฎระเบียบของรัฐบาลเป็นปัจจัยอันดับหนึ่งที่พวกเขากังวล แต่มีเพียง 31% เท่านั้นที่รู้สึกว่าพวกเขาเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายนั้น

มากไปกว่านั้น 77% ของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกว่า พวกเขาพร้อมที่จะเผชิญหน้าและสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิตอลได้ดี ซึ่งผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่า องค์กรส่วนใหญ่มีการพัฒนากลยุทธ์เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเทคโนโลยีดิจิตอลที่ประเด็นยอดนิยมในยุคปัจจุบัน  จากผลสำรวจสามารถสรุปได้ว่ามีเพียงครึ่งหนึ่งขององค์กรที่เชื่อว่า พวกเขาพร้อมที่จะเผชิญหน้าและสามารถปรับตัวได้ดีเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่อองค์กร ซึ่งสิ่งที่หน้าเป็นห่วงคือ ผลชี้วัดนี้ยังแสดงให้เห็นว่า อีกครึ่งหนึ่งของผลสำรวจยังไม่สามรถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อทุกองค์กรในยุคธุรกิจปัจจุบัน เพราะว่าการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร จะนำพาให้พาองค์กรพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน

ความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นกับความเสี่ยง

พวกคุณคงเคยได้ยินคำที่ว่า “ธุรกิจคือความเสี่ยง”

ในโลกธุรกิจไม่มีสภาพแวดล้อมไหนที่ปราศจากความเสี่ยง ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจประเทศไหนต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากกว่า อย่างไรก็ตามสำหรับโลกธุรกิจปัจจุบัน เราไม่สามารถหลีกหนีกับสิ่งนี้ได้เลย นั่นคือ ยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่คน หรือที่เข้าเรียนกว่า การเปลี่ยนแปลงในยุคเทคโนโลยี (Technological Transformation) และเมื่อเทคโนโลยีสามารถเข้ามาแทนที่คนได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทุกๆองค์กรจะต้องเผชิญและยอมรับกับ 2 คำนี้ “เปลี่ยนแปลง หรือ ล่มสลาย”

ผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ จัดอันดับองค์กรของตัวเองว่า เป็นองค์กรที่สามารถตอบสนองและเผชิญหน้ากับความเสี่ยงได้ดี ร้อยละ59 กล่าวว่าพวกเขายินดีที่จะบริหารความเสี่ยง ถึงกระนั้นที่เหลือร้อยละ41 กล่าวว่า ไม่กล้าที่จะเผชิญหน้าหรือบริหารความเสี่ยง ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงและความหยืดหยุ่นนั้นเป็นไปในทางเดียวกัน อีกนัยหนึ่งคือ องค์กรที่มีความยืดหยุ่นน้อยกว่าพยายามหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับความเสี่ยง ซึ่งส่งผลให้องค์กรนั้นๆ ล้าหลังและไม่สามารถแข่งขันกับองค์กรที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าได้ ส่วนองค์กรที่มีความยืดหยุ่นมาก มีแนวโน้มที่จะยอมรับความเสี่ยง ซึ่งส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ  แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด การที่องค์กรที่มีความยืดหยุ่นจะประสบความสำเร็จในเรื่องการจัดการความเสี่ยงนั้น พวกเขาจะต้องมี โครงสร้างและมีกลยุทธ์ที่ดีและนั่นคือความสมดุลระหว่างการยอมรับความเสี่ยงและการวางแผนอย่างรอบคอบ ซึ่งเป็นที่สิ่งที่ทำให้องค์กรสามารถก้าวขึ้นเหนือคู่แข่งได้

 

สำหรับองค์กรที่เห็นถึงความสำคัญของความยืดหยุ่นกับการเผชิญหน้ากับวิกฤติทางธุรกิจ ร้อยละ 53 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า พวกเขาได้เปลี่ยนวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นให้เป็นโอกาส ซึ่งทำให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้น และอีกร้อยละ 46 กล่าวว่าพวกเขาได้กำไร และผลประโยชน์อื่นๆจากการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส สำหรับประโยชน์อื่นๆ อาทิเช่น การขยายธุรกิจสู่ภาคใหม่ (37%) การรักษาคนที่มีความสามารถ (36%) และการปรับปรุงโดยรวมเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญด้านลูกค้า (34%)

ความยืดหยุ่นภายในองค์กรสร้างขึ้นได้อย่างไร?

ส่วนหนึ่งของความท้าทายในการสร้างความยืดยุ่นเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร คือ ไม่มีโปรแกรมหรือกลยุทธ์ใดที่จะสามารถเติมเต็มความต้องการขององค์กรโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากองค์กรนั้นๆ ไม่ได้มีการระบุมาตรการที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นในแต่ละองค์กร เกือบทุกองค์กรที่ตอบแบบสอบถาม กำลังรับความท้าทายและ สร้างความยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นได้ว่ากลยุทธ์สำหรับเพิ่มและรักษาความยืดหยุ่นขององค์กรนั้นไม่ได้เป็นที่รู้จัก หรือ ใช้กันอย่างแพร่หลาย ถึงแม้ว่าองค์กรบางองค์กรจะมีการจัดการเกี่ยวกับความยืดหยุ่น แต่พวกเขาก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ อีกนัยหนึ่งคือ พวกเขาไม่รู้ปัญหาที่แท้จริงขององค์กร จึงทำให้ไม่สามารถหากลยุทธ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมในการแก้ปัญหาภายในองค์กรได้ ทั้งนี้จึงส่งผลให้องค์กรไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กรได้อย่างแท้จริง

องค์กรต่างๆเชื่อว่ากุญแจสำคัญในการสร้างความยืดหยุ่นนั้นคือความเป็นผู้นำ 55% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมหรือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่นั้นเป็นความสามารถหลักในการช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่น ตามมาด้วยการทำงานร่วมกัน (51%) และการสร้างความยืดหยุ่นในวัฒนธรรมขององค์กร (47%)

สำหรับกลยุทธ์หลักในการสร้างความยืดหยุ่นขององค์กรนั้น ได้แก่ การฝึกอบรมแบบทีม (56%) การจัดกิจกรรมทางสังคม เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ (51%) และการฝึกอบรม /การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล (49%)  ผู้ตอบแบบสอบถามยังระบุอีกว่า เรื่องการพัฒนาคน (56%) การฝึกอบรมโดยรวม (48%) และการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมต่างๆขององค์กร เป็นสิ่งที่ต้องการสูงสุดต่อการส่งเสริมความยืดหยุ่นขององค์กร ซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่าง สิ่งที่องค์กรเชื่อว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการสร้างความยืดหยุ่น และสิ่งที่องค์กรกำลังลงมือทำ

ส่วนข้อเสนอแนะที่สำคัญซึ่งทุกๆองค์กรควรทราบนั่นคือ องค์กรส่วนใหญ่ไม่ทราบแน่ชัดว่ากลยุทธ์ใดที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการสร้างความยืดหยุ่นขององค์กร อีกนัยหนึ่งคือ ในความเป็นจริง องค์กรส่วนใหญ่มีความริเริ่มที่จะสร้างความยืดหยุ่นเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย เนื่องจากพวกเขามักจะไม่เห็นความสำคัญต่อการส่งเสริมความยืดหยุ่นที่แท้จริงในองค์กร ตัวอย่างเช่น กิจกรรมทางสังคมอาจช่วยลดความตึงเครียดจากการเผชิญกับความท้าทายทางธุรกิจ แต่บางองค์กรกับเห็นว่ากิจกรรมเหล่านี้ไม่ส่งผลต่อการส่งเสริมความยืดหยุ่นขององค์กร ซึ่งมีการพิสูจน์แล้วว่า กิจกรรมทางสัมคมส่วนใหญ่นั้นไม่มีประสิทธิภาพมากพอในการสร้างความผูกพันระหว่างบุคคลากรในองค์กร ซึ่งในทางกลับกัน บางองค์กรมองว่า กิจกรรมทางสังคมเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อกลยุทธ์ในการสร้างความยืดหยุ่นในองค์กร ทั้งนี้องค์กรต่างๆจำเป็นต้องจัดกิจกรรมทางสังคมให้เกิดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมเหล่านี้จะต้องเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม รวมถึงจะต้องส่งเสิมความเป็นผู้นำในตัว บุคคลากรขององค์กร เมื่อองค์กรนำกลยุทธ์ไปปรับใช้ให้ถูกวืธี กิจกรรมทางสังคมถือว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและทำได้จริง ไม่ว่าองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้

ส่วนข้อเสนอแนะที่สำคัญซึ่งทุกๆองค์กรควรทราบนั่นคือ องค์กรส่วนใหญ่ไม่ทราบแน่ชัดว่ากลยุทธ์ใดที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการสร้างความยืดหยุ่นขององค์กร อีกนัยหนึ่งคือ ในความเป็นจริง องค์กรส่วนใหญ่มีความริเริ่มที่จะสร้างความยืดหยุ่นเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย เนื่องจากพวกเขามักจะไม่เห็นความสำคัญต่อการส่งเสริมความยืดหยุ่นที่แท้จริงในองค์กร ตัวอย่างเช่น กิจกรรมทางสังคมอาจช่วยลดความตึงเครียดจากการเผชิญกับความท้าทายทางธุรกิจ แต่บางองค์กรกับเห็นว่ากิจกรรมเหล่านี้ไม่ส่งผลต่อการส่งเสริมความยืดหยุ่นขององค์กร ซึ่งมีการพิสูจน์แล้วว่า กิจกรรมทางสัมคมส่วนใหญ่นั้นไม่มีประสิทธิภาพมากพอในการสร้างความผูกพันระหว่างบุคคลากรในองค์กร ซึ่งในทางกลับกัน บางองค์กรมองว่า กิจกรรมทางสังคมเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อกลยุทธ์ในการสร้างความยืดหยุ่นในองค์กร ทั้งนี้องค์กรต่างๆจำเป็นต้องจัดกิจกรรมทางสังคมให้เกิดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมเหล่านี้จะต้องเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม รวมถึงจะต้องส่งเสิมความเป็นผู้นำในตัว บุคคลากรขององค์กร เมื่อองค์กรนำกลยุทธ์ไปปรับใช้ให้ถูกวืธี กิจกรรมทางสังคมถือว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและทำได้จริง ไม่ว่าองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้