การบอกเลิกจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย

Published on
Written by

การบอกเลิกจ้างพนักงานต้องถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน เพราะกฎหมายช่วยคุ้มครองลูกจ้างเพื่อให้การเลิกจ้างเป็นธรรม ซึ่ง HR มีการทำการบ้านศึกษากฎหมายแรงงานเป็นอย่างดีแล้วกับการบอกล่วงหน้า แต่ปัญหาที่ยังตามมาก็ยังเป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบในทางลบค่อนข้างเยอะ เป็นเพราะอะไร

การบอกเลิกจ้างอาจจะแบ่งคร่าว ได้เป็น 

1. การบอกเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งอาจจะแบ่งเป็น 2 หลักๆ คือ 

  • ในกรณีนี้จะหมายถึงพนักงานกระทำความผิดอาญาต่อกฎหมาย หรือมีพฤติกรรมที่จงใจละเลยหน้าที่ ปฎิบัติมิชอบจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย หรือ ฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีร้ายแรง และอื่น  
  • กรณีสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอน (Fixed Terms Contract) หรือที่เรียกกันว่าสัญญาปลายปิด เป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาเริ่มและสิ้นสุดของสัญญาไว้ชัดเจน เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างจึงถือเป็นการสิ้นสุดสัญญาจ้าง และโดยทั่วไปคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนครบกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างไม่ได้ และนายจ้างไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า  

2.ในที่นี้เราจะเน้นในข้อ 2 ซึ่งหมายถึงการบอกเลิกจ้างโดยได้รับค่าชดเชย 

  • การบอกเลิกจ้างโดยได้รับค่าชดเชย ซึ่งเป็นไปตามลักษณะการจ้าง หมายถึงลูกจ้างที่มีสัญญาจ้างแน่นอนและจ้างต่อเนื่องมาระยะหนึ่ง ลูกจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลาจ้างแน่นอน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างตามฤดูกาล ลูกจ้างในงานโครงการ ลูกจ้างทำงานเต็มเวลา ลูกจ้างทำงานไม่เต็มเวลา โดยที่ลูกจ้างต้องทำงานติดต่อกันครบ 120 วันขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง 

ส่วนเหตุผลของการเลิกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นกรณีเลิกจ้างเพราะลูกจ้างป่วย นายจ้างปิดกิจการ หรือนายจ้างประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง    มียอดขาดทุนสะสมหลายร้อยล้านบาท สถานบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อ ถือว่าเป็นเหตุผลความจำเป็นที่นายจ้างยกขึ้นเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้างได้ จึงจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม แต่ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าว่านายจ้างต้องการบอกเลิกการจ้างและให้การจ้างสิ้นสุดในอนาคตที่แน่นอนว่าเป็นวันเดือนปีใด มิฉะนั้น จะไม่ถือว่ามีการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย ซึ่งการบอกเลิกจ้างอาจทำด้วยวาจาหรือจะทำเป็นหนังสือก็ได้ แต่แนะนำให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีความชัดเจนไม่ต้องโต้เถียงกันในภายหลัง  

โดยส่วนใหญ่การบอกเลิกจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันหรือ 1 เดือน 

แต่ถ้านายจ้างบอกเลิกจ้างโดยให้มีผลในทันทีก็สามารถทำได้ แต่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนเสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนออกจากงาน แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้จะคิดอย่างมากที่สุด ไม่เกินค่าจ้างสามเดือน หากนายจ้างฝ่าฝืน จะต้องรับผิดในทางแพ่งเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี 

ค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างมีอัตรา ดังนี้ 

  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี ขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน 

ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย ต้องเป็นค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ได้แก่ เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง ในวันและเวลาทำงานปกติ เช่น เงินเดือน ค่าแรงรายวัน ค่าครองชีพ ค่าตำแหน่ง ฯลฯ เป็นต้น โดยถือเอาค่าจ้างอัตราสุดท้ายในขณะเลิกจ้างเป็นเกณฑ์ 

ส่วนเงินที่ไม่ใช่ค่าจ้าง เช่น เงินช่วยเหลือบุตร เงินช่วยค่าเดินทาง เงินช่วยค่าน้ำค่าไฟฟ้า จะไม่นำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย  

ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลต่อจิตใจของพนักงานและอาจนำไปสู่การฟ้องร้อง หรือทำลายภาพลักษณ์ขององค์กร พอจะสรุปได้รวม ดังนี้ 

  • กระบวนการก่อนการเลิกจ้าง ซึ่งหมายถึง กระบวนการพิจารณาเลือกตัวพนักงานที่ต้องการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม เช่น เลือกเลิกจ้างพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ลูกจ้างที่ยื่นข้อเรียกร้อง ดังนั้นหลักเกณฑ์การคัดเลือกพนักงานที่ถูกเลิกจ้างต้องมีความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ 
  • นายจ้างให้เหตุผลของการเลิกจ้างเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ แต่ขาดสภาพคล่องในปีนั้นๆและนำมาเป็นเหตุผลในการบอกเลิกจ้าง เช่น นายจ้างประกอบกิจการมาหลายปี มีกำไรสะสมจำนวนมากหลายร้อยล้านบาท ในปีนั้น ประสบปัญหาขาดทุน ยังไม่มีเหตุผลที่สมควรและเพียงพอที่ยกขึ้นเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้าง ในกรณีที่ใช้สภาวะเศรษฐกิจที่มีความเป็นไปได้คือ ลดต้นทุนในด้านการจัดการ เช่น ต้นทุนการผลิต ค่าสาธารณูปโภค หรือเสนอโอนย้ายพนักงานไปยังบริษัทในเครือ  

การเลิกจ้างให้ชอบด้วยกฎหมายแรงงาน ยังคงมีรายละเอียดอื่น อีกมากมาย กระบวนการต่าง จึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบและคำนึงตั้งแต่เหตุผลในการเลิกจ้างพนักงาน กระบวนการคัดเลือกพนักงาน ขั้นตอนการบอกเลิกจ้างซึ่งเป็นขั้นตอนที่น่ากังวลที่สุดเพราะนายจ้างกำลังบอกสิ่งที่ไม่ได้คาดคิด และควรจะทำอย่างไรเพื่อให้ขั้นตอนนี้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด รวมทั้งการให้การดูแลเตรียมพร้อมพนักงานในช่วงหางานซึ่งมีบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพในการช่วยเหลือการให้บริการด้าน Outplacement Service