มีอะไรอีกมั้ย นอกจากเงินค่าชดเชยเลิกจ้าง

Published on
Written by

ถ้าใครเคยมีประสบการณ์การถูกบอกเลิกจ้าง คงจะจำความรู้สึกงง ๆ สับสน คิดอะไรไม่ออกในช่วงนั้น เอาแต่ถามตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมเป็นเรา เราได้รับอะไรบ้างจากการถูกบอกเลิกจ้าง แล้วก็เซ็นเอกสารตามที่ถูกบอก เดินไปเก็บของ คืนเอกสารสำคัญของบริษัท คืนโน้ตบุ๊ก โดยที่ไม่ได้คิดว่าต่อจากนี้จะต้องติดต่อกับบริษัทอีกด้วยเรื่องอื่น ๆ อีกหรือไม่ และต้องทำอะไรต่อจากนี้ เนื้อหาต่อจากนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่เพิ่งถูกบอกเลิกจ้าง หรือเป็นความรู้สำหรับคนใกล้ตัว เมื่อถูกเลิกจ้าง

สิ่งที่ผู้ถูกบอกเลิกจ้างได้รับหลังจากถูกเลิกจ้าง

ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ผู้ถูกเลิกจ้างมีความรู้สึกมากมาย ทั้งเศร้าที่ต้องสูญเสียงาน เครียดเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเข้ามาแต่รายได้กลับหายไป การบอกเลิกจ้างจึงควรเป็นไปตามกฎหมายได้กำหนดไว้ โดยนอกจากเงินค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดแล้วนั้น ยังมีสิทธิส่วนอื่น ๆ อีกที่ผู้ถูกบอกเลิกจ้างจะได้รับจากการถูกบอกเลิกจ้าง

1. เงินชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

ซึ่งในที่นี้จะขอไม่พูดถึงจำนวนเงินที่ได้ แต่จะเน้นว่าเงินค่าชดเชยและเงินก้อนอื่น ๆ ที่ได้รับก็ต้องถูกหักภาษี ยกเว้นเงินค่าชดเชยที่ไม่เกิน 300,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีหากพนักงานมีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป เงินก้อนที่ได้รับจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จำนวนหนึ่ง โดยถูกแยกคำนวณภาษีจากรายได้อื่น ๆ (เช่น เงินเดือน โบนัส ฯลฯ) และจะได้รับเอกสาร 50 ทวิ สำหรับเงินก้อนนี้ เพื่อนำไปกรอกภาษีสิ้นปีด้วย “ใบแนบ ภ.ง.ด. 91/90” พร้อมกับรายได้อื่น ซึ่งภาษีส่วนนี้ที่คำนวณได้ตอนกรอกภาษี มักเท่ากับภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไป ทำให้มักไม่ต้องมีการจ่ายภาษีเพิ่มสำหรับเงินก้อนนี้

2. เงินทดแทนการว่างงานจากประกันสังคม

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการว่างงานจากประกันสังคม ในช่วงที่ว่างงานเป็นรายเดือนตามสัดส่วนของเงินเดือน (คำนวณที่ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท) ดังนี้

  • กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนเดือนละ 50% ของเงินเดือน หรือสูงสุดเดือนละ 7,500 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
  • กรณีลาออก จะได้รับเงินทดแทนเดือนละ 30% ของเงินเดือน หรือสูงสุดเดือนละ 4,500 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน

โดยที่ลูกจ้างต้องไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของสำนักงานจัดหางานของรัฐที่ https://empui.doe.go.th ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก และต้องรายงานตัวผ่านระบบอินเทอร์เน็ตนี้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้งด้วย

เอกสารที่ต้องใช้ในการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน

    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7 ต้องพิมพ์ตอนที่ขึ้นทะเบียนว่างงานในเว็บไซต์
    • หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือ สปส. 6-09 ต้องพิมพ์ตอนที่ขึ้นทะเบียนในเว็บไซต์เช่นกัน
    • หนังสือเลิกจ้าง ที่ออกให้จากฝ่ายบุคคลหรือนายจ้าง
    • สำเนาบัตรประชาชน
    • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ที่ขึ้นทะเบียนว่างงาน

3. สิทธิรักษาพยาบาล จากประกันสังคม

ลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างหรือลาออกจะยังคงได้รับสวัสดิการจากประกันสังคมและยังคงใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้อีก 6 เดือนหลังจากสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทและสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน ถ้าลูกจ้างหรือผู้ประกันตนส่งเงินสมทบประกันสังคมมาก่อนแล้ว 3 เดือนขึ้นไป

4. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)

เป็นเงินร่วมกันระหว่างลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ

  • ถ้าอายุงานไม่ถึง 5 ปี และต้องการนำเงินออกจากกองทุนฯ จำนวนเงินที่ได้รับต้องนำไปรวมกับรายได้อื่น เช่น เงินเดือน โบนัส ฯลฯ เพื่อคำนวณภาษี ดังนั้นหากก่อนถูกเลิกจ้างเป็นพนักงานที่มีฐานรายได้สูง ภาษีที่ต้องชำระก็จะสูงตาม
  • ถ้าอายุงาน 5 ปีขึ้นไป และอายุตัวไม่ถึง 55 ปีบริบูรณ์ และต้องการนำเงินออกจากกองทุนฯ ลูกจ้างสามารถเลือกนำเงินที่ได้ไปกรอกภาษีสิ้นปีด้วย “ใบแนบ ภ.ง.ด. 91/90” พร้อมกับค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และเงินก้อนอื่น ๆ ที่ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
  • ถ้าอายุงาน 5 ปีขึ้นไป และอายุตัว 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป  และต้องการนำเงินออกจากกองทุนฯ เงินก้อนที่ได้จะได้รับการยกเว้นภาษี
  • หรือถ้าไม่ต้องการนำเงินออกจากกองทุนฯ สามารถเลือกโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุน RMF ภายใต้ บลจ. เดียวกัน และถือลงทุนต่อจนอายุตัวครบ 55 ปีบริบูรณ์ ก็จะไม่มีภาระภาษี
  • หรือ ขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม โดยมักมีค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 500 บาท เพื่อรอโอนย้ายเงินไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่อื่น หลังได้งานใหม่และผ่านเกณฑ์ของบริษัทใหม่

มีอะไรอีกมั้ย นอกจากเงินค่าชดเชยเลิกจ้าง

สิ่งที่จะได้รับนอกเหนือจากค่าชดเชย

นอกจากเรื่องเงินต่าง ๆ แล้ว ลูกจ้างเองก็อาจจะต่อรองกับนายจ้าง เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้ตัวเองอีกหลาย ๆ ทางเช่น

  • การจัดอบรมเพื่อเตรียมตัวในการหางาน (Outplacement program) อย่าลืมว่าสิ่งที่เข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจและส่งผลกระทบค่อนข้างมากคือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงาน ปรับขั้นตอนการทำงาน เช่นเดียวกันกระบวนการสรรหาบุคคลเองก็ถูกนำ AI เข้ามาใช้ในกระบวนการสรรหาบุคคลเช่นเดียวกัน บริษัทที่ทำวิจัยได้ทำสถิติพบว่า 98% ของบริษัทชั้นนำมีการนำ AI เข้ามาใช้ในกระบวนการสรรหาบุคคล ถ้าลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างไม่ทราบวิธีการที่ AI เข้ามามีบทบาทในกระบวนการเหล่านี้และพวกเขาก็ยังคงใช้รูปแบบเดิม ๆ ในการสมัครงาน เป็นไปได้อย่างมากที่โอกาสที่จะได้งานน้อยลงเป็นอย่างมาก ดังนั้นบริษัทควรพิจารณาจัดหาบริษัทที่ให้บริการอบรมเพื่อเตรียมตัวในการหางาน (Outplacement program) เข้ามาช่วยเหลือลูกจ้างกลุ่มนี้ เพราะบริษัทเหล่านี้มีความเข้าใจกลไกเป็นอย่างดี นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างแล้วยังช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีของบริษัทอีกด้วย
  • ในบางองค์กรอาจจะคุยกับฝ่ายบุคคลเพื่อสอบถามความเป็นไปได้ในการสมัครตำแหน่งที่เปิดอยู่ภายในองค์กร ซึ่งก็ต้องยอมรับด้วยว่าขั้นตอนการสมัครงานตำแหน่งภายในก็ต้องใช้ Resume และการสัมภาษณ์เหมือนบุคคลทั่วไป แต่อาจจะได้สิทธิ์สัมภาษณ์ก่อนคนนอก และก็ไม่ได้การันตีว่าจะได้ตำแหน่งนั้น แต่อย่างน้อยก็เป็นอีกหนึ่งโอกาส
  • ควรจะขอจดหมายรับรองจากทางบริษัทซึ่งอาจจะเป็นจดหมายที่ออกโดยฝ่ายบุคคล หรือเจ้านายโดยตรง
  • ควรจะขอเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมล์ของผู้ที่สามารถติดต่อได้ในกรณีที่ต้องขอเอกสารเพิ่มเติมจากทางบริษัท เช่น ทวิ 50 เพื่อใช้ยื่นภาษีตอนปลายปี เอกสารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และอื่น ๆ ตามความจำเป็น

สรุป

ลูกจ้างมีหน้าที่ที่ต้องสำรวจสิทธิ์พึงได้ และอาจจะเจรจาต่อรองเพื่อให้ช่วงการเปลี่ยนถ่ายเป็นไปด้วยดี สร้างความมั่นใจที่จะก้าวข้ามผ่านช่วงวิกฤติไปได้ด้วยดี และการเจรจาต่อรองไม่ใช่เรื่องที่สร้างความเสียหายให้แก่นายจ้างแต่อย่างใด

LHH (Lee Hecht Harrison) เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Outplacement และ Career Transition ดำเนินงานในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งให้บริการในการช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้างหรือต้องเปลี่ยนสายอาชีพภายในองค์กรและนอกองค์กร  

LHH มีบริการ Outplacement และ Career Transition ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของพนักงานทุกระดับ ที่ต้องการพัฒนาอาชีพใหม่ให้สามารถก้าวข้ามขั้นตอนที่ท้าทายของการเปลี่ยนงานหรืออาชีพได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จโดยทีมที่ปรึกษาจาก LHH จะให้คำปรึกษาในเรื่องการพัฒนาทักษะและการเตรียมตัวสำหรับการสมัครงาน อาทิเช่น เทคนิคการสัมภาษณ์งาน การเขียนประวัติการทำงานอย่างย่ออย่างฉบับมืออาชีพ ทราบถึงข้อมูลตลาดงานในปัจจุบัน การสร้างเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ และอื่น ๆ เพื่อให้พนักงานเริ่มต้นในสายงานใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่[email protected]หรือโทร  022586930-35