7 ขั้นตอนเพื่อเสริมสร้าง Team Resilience

Published on
Written by

Resilience คือ ความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติได้ท่ามกลางภาวะวิกฤต การมี Resilient จึงกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนมากสำหรับการทำงานของแต่ละทีม เพราะมีแค่ตัวอย่างหลังการระบาดของโรคโควิด – 19 ที่พบว่าองค์กรส่วนมากไม่มีทักษะที่จำเป็นที่จะเข้าไปจัดการกับปัญหาหลังเกิดวิกฤตและการระบาดของโรคดังกล่าว ซึ่งทำให้ผู้บริหารหลายคนสงสัยว่าตอนนี้พวกเขาทำอะไรได้บ้างเพื่อสร้าง Resilience ขึ้นมา

ในเริ่มแรก หากคุณผู้นำทีม ควรลองถามคำถามยาก ๆ กับสมาชิกเพื่อกำหนดว่าทีมมีคุณสมบัติของการปรับตัว (Resilient) ที่แท้จริงมั้ย โดยจากประสบการณ์ของ LHH และ Ferrazzi Greenlight ได้ระบุ 4 คุณลักษณะเด่นของทีมที่มี Resilient ได้แก่ ความตรงไปตรงมา แก้ปัญหาได้ดี (มีไหวพริบ) ความเห็นอกเห็นใจ และ ความนอบน้อม

ความสามารถในการฟื้นฟูจิตใจ (Resilience) ต้องใช้การตระหนักรู้ในตนเองและการเข้าอกเข้าใจในความรู้สึกของคนอื่น ซึ่งความสามารถดังกล่าวอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติกับสมาชิกในทีมทุกคน การประเมินสถานะของทีม และการระบุจุดอ่อน คือสิ่งที่ผู้นำทีมต้องทำ จากนั้นจึงให้กลยุทธ์ที่จะช่วยสมาชิกในทีมทำลายอุปสรรค เพื่อสร้างรากฐานแห่งความเชื่อมั่น โปร่งใส และการตระหนักรู้ในตนเอง

u8

มีแนวทางปฏิบัติมากมายที่อาจเสริมสร้าง Resilience ให้กับทีมคุณได้ และนี่คือขั้นตอนที่ LHH แนะนำ

  1. สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อจิตใจ
    ความเชื่อที่ว่าสมาชิกในทีมทุกคนสามารถพูดอะไรออกมาก็ได้โดยปราศจากผลลัพธ์นั้นสำคัญมากในการสร้างทีมที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณรู้สึกว่ามีปัญหา ผู้นำที่มีความสามารถสูงในการนำทีมจะกระตุ้นสมาชิกภายในทีมให้แบ่งปันความคิดและความรู้สึก
    เช่นสมาชิกในทีมอาจจะเรียกคุยกับคนในคนหนึ่งหรือหากจำเป็น การประชุมทางไกลด้วยโปรแกรมต่างๆ ก็ใช้แบ่งแยกเป็นห้องย่อยได้ เพื่อส่งเสริมการสนทนาที่ซื่อสัตย์และตรงไปตรงมา
  2. ใช้ผู้สังเกตการณ์อิสระ
    เพื่อช่วยทีมให้ยอมรับการประเมินผลงานอย่างตรงไปตรงมา ผู้นำที่มีที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Resilient leader) จะเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกองค์กรเพื่อมาเสนอมุมมองในปัญหาต่าง ๆ หรือเสนอองค์ประกอบในการสร้างพลวัตรภายในทีม
  3. ใช้การแบ่งปันเรื่องราว
    เพื่อสร้างความร่วมมือ ความเชื่อใจ และการมีส่วนร่วม ผู้นำของทีมที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจมักจะสนับสนุนให้สมาชิกในทีมแสดงรายละเอียดการเดินทางของชีวิตพวกเขา รวมไปถึงจุดสูงสุด ต่ำสุดและแบ่งปันเรื่องราวที่เป็นสีสันในชีวิตกับสมาชิกในทีมที่เหลือ เพื่อให้มีเป็นทีมที่มีความเห็นอกเห็นใจ ทีมจะสร้างสภาพแวดล้อมที่ต้อนรับความมีเมตตาและอ่อนน้อมถ่อมตน
  4. ท้าทายปัญหา
    ทีมที่มีความยืดหยุ่นและฟื้นตัวได้เร็วจากความล้มเหลว (Resilience Team) จะแสดงความกังวลต่อกันและกัน เพื่อสร้างความไว้ว้างใจและความซื่อสัตย์ซึ่งผู้นำต้องผู้นำต้องอำนวยความสะดวกในกระบวนการนี้ และกระตุ้นให้ผู้คนยอมรับความกลัว หรือความท้าทายด้านความสัมพันธ์ และสอบถามกับทีมให้หาแนวทางแก้ไข เช่น วิทยากรสามารถสอบถามให้สมาชิกในทีมแต่ละคนแสดงความรู้สึกของพวกเขาออกมาเกี่ยวกับสถานะของทีม และปัญหาที่เกิดขึ้น วิทยากรจะสนับสนุนให้สมาชิกแต่ละคนแสดงความรักผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นและไม่หันไปโทษสมาชิกในทีมคนอื่น ๆ
  5. แสดงความใส่ใจ
    ผู้นำทุกคนต้องพิสูจน์ว่าพวกเขาสนใจในกระบวนการที่ทีมกำลังสร้างอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้คำถามค้นหาข้อเท็จจริง เพื่อทำความความเข้าใจปัญหาที่ซ่อนอยู่ แต่การตั้งคำถามเป็นแค่ส่วนหนึ่งของสมการเพราะ ผู้นำที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Resilience) ต้องฟังคำตอบจากสมาชิกในทีมอย่างตั้งใจ การกระทำเช่นนี้จะเผยให้เห็นว่าผู้นำมีหรือไม่มี Resilience
  6.  ตรวจสอบอุณหภูมิ
    ก่อนเริ่มประชุมทุกครั้งให้สมาชิกทุกคนระบุระดับพลังงานของพวกเขาจาก 1 – 5 โดยที่ 1 เท่ากับอยู่ในระดับน้อย และ 5 เท่ากับอยู่ในระดับสูง การดำเนินงานที่ง่ายและรวดเร็วเช่นนี้ จะระบุได้ว่ามีใครบางคนกำลังต้องการความใส่ใจ หรือกำลังอยู่ในช่วงอารมณ์ที่ไม่เป็นปกติของความเหนื่อยล้าและอึดอัดใจ
  7. ยกระดับร่วมกัน
    ความมุ่งมั่นสร้างภาวะยืดหยุ่นทางจิตใจหรือ Resilience ใหักันและกัน เราจะเรียกสิ่งนี้ว่า “การยกระดับร่วม” เพราะเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความชัดเจน และความคาดหวังที่ไม่คลุมเครือแก่ความสามัคคีของทีม ความกังวลหรือความไม่เต็มใจต่าง ๆ ในการช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานที่กำลังมีปัญหาคือการส่งสัญญาณว่าอาจมีความจำเป็นที่หัวหน้าและโค้ชผู้เชี่ยวชาญต้องเข้าไปช่วยเหลือในระดับที่ลึกยิ่งขึ้น

 

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญของด้านการสร้าง Reslience ของ LHH Thailand ได้ที่ 022586930-35

เข้าชม Free Webinar สำหรับ “Resilience สร้างได้” ฟรีที่  Building Resilience

ติดต่อสำหรับการทำ In-house Workshop และ Talent Development ได้ที่นี่ 

อ้างอิง: 7 Strategies to Build a More Resilient Team (hbr.org)