พลังของการให้ฟีดแบคในเชิงบวก

Published on
Written by

ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน ความสำเร็จขององค์กรขึ้นอยู่กับทีมงานเป็นอย่างมาก ทีมที่มีแรงจูงใจ มีส่วนร่วม และมีประสิทธิภาพสูงเป็นทรัพยากรสำคัญที่สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรม เพิ่มผลิตภาพ และสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดี หนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดที่ผู้นำสามารถใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เหล่านี้คือการให้ฟีดแบคและเมื่อทำอย่างสร้างสรรค์และใช้ในเชิงบวกสามารถทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการพัฒนา​การเติบโตของทุกคนในทีมได้ โดยช่วยให้การปฏิบัติงานของพนักงานสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรมากยิ่งขึ้น

พลังของการให้ฟีดแบคในเชิงบวก-1

ปัญหา​ที่พบบ่อยเมื่อองค์กร​ไม่ได้สร้างทักษะ​ความสามารถ​ความรู้ ความเข้าใจ​ด้านการให้ฟีดแบคกับพนักงาน

1. การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ

การสื่อสารที่ไม่ดีอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดกัน การกระทบกระทั่ง​กัน ซึ่งข้อผิดพลาดนี้ จะส่งผลโดย​ตรงต่อสภาวะ​การทำงานของทีมให้หยุดชะงัก​ได้ ทีมขาดความเชื่อใจกัน และยากต่อการพัฒนา​

2. พนักงานขาดขวัญ​และ​กำลังใจ

การที่พนักงานรู้สึกไม่ได้รับการยอมรับและไม่มีคุณค่ามีแนวโน้มที่จะขาดแรงจูงใจ และประสิทธิภาพ​ลดถอยลง มีอาการเบื่องาน ขาดความมั่นใจ​ ขาดความคิดสร้างสรรค์​ และยังส่งต่อความรู้สึก​นั้นต่อเพื่อนร่วมงานอีกด้วย

3. ขาดการปรับ​ปรุงข้อบกพร่อง​ของตนเองและไม่ใส่ใจในการพัฒนา​ทักษะ​อื่น ๆ ที่จำเป็น​

หากไม่มีการให้ฟีดแบคพนักงานอาจไม่ทราบถึงข้อบกพร่อง​ที่สามารถ​เติมเต็มได้ อาจทำให้เกิดความเสียหาย​ต่อการทำงานได้ในอนาคต การให้ฟีคแบคในเชิงบวกและตรงไปตรงมา​ เพื่อช่วยให้เข้าใจและชี้แนะการพัฒนา​ให้ถูกวิธี​จะทำให้พนักงานสามารถ​พัฒนา​ตนเอง​อย่างถูกต้อง​และรวดเร็ว​

4. การหลุดโฟกัส และพลาดเป้าหมาย​ที่หัวหน้าหรือองค์กร​วางแผน​ไว้​

บางครั้งด้วยงานที่เข้ามา หรือปัญหา​ที่ต้องได้รับการแก้ไขอาจจะทำให้โฟกัสอยู่ที่ภาพเล็ก จนหลงลืมภาพใหญ่ หรือเป้าหมาย​ขององค์กร​ได้ การให้ฟีดแบคทำให้การทำงานของพนักงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของบริษัท ทำให้มั่นใจได้ว่าทุกคนกำลังทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

ข้อดีของการให้ฟีดแบ​คในภาพขององค์กร​

1. เพิ่มผลิตผล

พนักงานที่ได้รับข้อฟีดแบคที่ชัดเจน​และสร้างสรรค์มีแนวโน้มที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มผลิตผลอย่างมาก

2. การรักษาพนักงานให้คงอยู่​กับองค์กร​

การสร้างการยอมรับและการให้ฟีดแบ​คในเชิงบวกสามารถเพิ่มความพึงพอใจและความภักดีของพนักงานอย่างมาก ลดอัตราการลาออกของพนักงาน

3. นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์

การสนับสนุนการให้ฟีดแบคส่งเสริมการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน เปิดโอกาสให้นวัตกรรมและความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้น

4. การแก้ไขปัญหา

การให้ฟีดแบคอย่างทันท่วงทีสามารถระบุปัญหาก่อนที่จะบานปลาย ช่วยแก้ไขความขัดแย้งและเสริมสร้าง​บรรยากาศ​การทำงานที่ฉับไว​

5. การกล้าตัดสินใจและผลลัพธ์​การตัดสินใจ​ที่ดีขึ้น

ผู้นำที่ตั้งใจเปิดใจรับฟัง​การได้รับฟีดแบ​คและการให้ฟีคแบคสามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลมากขึ้นซึ่งสะท้อนถึงความต้องการและข้อมูลเชิงลึกของทีม

SBID Model

การใช้ SBID Model ของ LHH ผู้อ่านสามารถ​ลงเรียน​เพิ่มเติม​ได้ที่หลักสูตร​ Develop​ Through​ Feedback​

SBID Model ให้กรอบการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น และสามารถ​ให้ฟีดแบ​คได้ตรงประเด็น​อย่างมีประสิทธิภาพ​และลดการขัดแย้ง​หรือการไม่เปิดใจรับข้อมูล​ของผู้ที่ได้รับการฟีดแบ​คได้อย่างดี เน้นการหาข้อจุดบกพร่อง​พร้อมกันและคิดวิเคราะห์​การหาวิธีที่จะ​พัฒนา​ร่วมกันเพื่อนำไปปฏิบัติได้จริง ๆ

พลังของการให้ฟีดแบคในเชิงบวก-SBID-Model

  1. Situation: อธิบายบริบทที่พฤติกรรมเกิดขึ้นในสถานการณ์​ไหน เวลาอะไร วันที่​หรือช่วงเวลานั้น ๆ
  2. Behavior: อธิบายพฤติกรรมเฉพาะที่คุณสังเกตเห็นในตอนที่เกิดเหตุ​การณ์​นั้น ว่ามีข้อเท็จจริง​ใดที่คุณมองเห็น​จาก outside in
  3. Impact: อธิบายผลกระทบของพฤติกรรมนั้นต่อทีมหรือองค์กร หรือบุคคล​ในเหตุการณ์​ที่เกิดขึ้น​เพื่ออธิบาย​ถึงเหตุผล​ของการพูดคุย​หาข้อมูล​ร่วมกันในการฟีดแบ​คครั้งนี้
  4. Discover​: สอบถาม​ใช้คำถามที่สะท้อนถึง​ภาพรวมและสอบถาม​ถึงความคิดเห็น​ของผู้ที่ได้รับการฟีดแบคว่าคุณ​เห็นเรื่อง​นี้ว่าอย่างไร และหาข้อพัฒนา​ร่วมกัน

ตัวอย่างการใช้ SBID Model

Situation: “ในระหว่างการประชุมทีมเมื่อวานนี้ เมื่อเรากำลังพูดถึงกรอบเวลาของโครงการใหม่…”

Behavior: “…คุณขัดจังหวะเพื่อนร่วมงานบ่อยครั้งในขณะที่พวกเขากำลังพูด”

Impact: “…สิ่งนี้ทำให้การประชุมเกิดความไม่ต่อเนื่อง​ของข้อมูลและทำให้เพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ เสนอไอเดียต่อได้ยากขึ้น”

Discover​: “… คุณ​คิดว่า​สิ่งนี้ส่งผล​กระทบ​ต่อ​ทีมอย่างไรบ้าง อยากฟังความรู้สึก​และความคิดเห็น​ในมุมมอง​ของคุณในเหตุการณ์​นั้น ช่วยเล่าให้ฟังได้ไหม…”

สรุป

ด้วยเหตุผลมากมายที่มีประโยชน์​จึงไม่อยากให้ผู้อ่านมองข้าม​ทักษะอันพึงต้องมีนี้ไปอย่างโดยเด็ดขาดเพราะ​การให้ฟีดแบคที่มีประสิทธิภาพเป็นรากฐานของการประสบความสำเร็จและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย​ทางจิต​ใจ​ การให้ฟีดแบคที่ดีและมีกรอบโมเดลที่มาตรฐาน​จะส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสารที่เปิดกว้าง องค์กรสามารถปลดล็อกศักยภาพของพนักงานได้อย่างเต็มที่ ผู้นำที่เชี่ยวชาญศิลปะการให้ฟีดแบ​คสามารถเปลี่ยนทีมของตนให้เป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ​มีนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ต่อการทำงานร่วมกัน​ และมีความสามัคคี ผลักดันความสำเร็จและการเติบโตอย่างยั่งยืน