8 วิธีจัดการกับความเครียดและการเปลี่ยนแปลงสำหรับ HR ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-19)

Published on
Written by

การจัดการความเครียด เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสามารถในการฟื้นฟูหรือการปรับเปลี่ยนตนเอง (Resilience)
ซึ่งเป็นทักษะแห่งการอยู่รอดในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพราะการมองปัญหาให้เป็นความท้าทายเป็นเรื่องยากที่จะเข้าไปจัดการหากยังมีความเครียดเกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจกบุคคล หรือในระดับองค์กร LHH Thailand ผู้ให้บริการ Outplacement service และ Talent development
มี 8 วิธีจัดการกับความเครียดสำหรับ HR เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการรับมือในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงช่วงโควิด – 19 และเตรียมความพร้อมในการสร้าง Resilience ให้สมาชิกในองค์กรรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

8 วิธีจัดการความเครียดและการเปลี่ยนแปลงสำหรับ HR  (English below)

1. รักษาขั้นตอนการสื่อสารที่วางแผนไว้กับทีมและคู่ค้า เพราะการสื่อสารมีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตต่าง  ๆ ควรจัดตาราง และเวลาการประชุมให้ตรงกัน
2. มีบทสนทนาอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานมาพูดคุยร่วมในการประชุม เช่น ข้อดีและข้อเสียต่าง ๆ ในการทำงานที่บ้าน ความสัมพันธ์
3. ตั้งกรุ๊ปไลน์หรือการประชุมแบบเห็นหน้ากับเพื่อน HR นอกองค์กรเพื่อแบ่งปันความรู้
4. เป็นผู้นำที่ดีผ่านการทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง และหากรู้สึกเหนื่อยล้าให้มองหาการช่วยเหลือ
5. ติดต่อกับซัพพลายเออร์หรือผู้ที่ไว้ใจได้หากต้องการคำแนะนำหรือความช่วยเหลือ ในกรณีนี้การติดต่อทางโทรศัพท์ไม่ควรมีค่าใช้จ่ายใด ๆ และสามารถติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้
6. แบ่งเวลาเล็กน้อยเพื่ออัพเดตข่าวสารของโรค COVID-19 ในทุก ๆ วัน
7. เลือกใช้วิธีที่ดีที่สุดในการทำงานที่บ้าน
8. มีความมั่นใจในการใช้ EAP (Employee Assistance Program) โปรแกรมทางจิตวิทยาที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือ HR ให้คำปรึกษาแก่พนักงาน เพราะบ่อยครั้ง HR มักถูกขอให้ช่วยเป็นโค้ชหรือผู้ให้คำปรึกษาแต่บางครั้งคุณไม่มีเวลาที่จะทำได้

8 Tips for HR Managing Stress and Change Right Now

1. Maintain structured communication processes with your team and business partners
2. Incorporate non work discussion time into meeting e.g. positives and negatives of working from home
3. Consider establishing a Line group and/or a regular Zoom meeting with a small group of external HR peers to share learning
4. Lead by example, access personal support if you are feeling overwhelmed
5. Reach out to your suppliers and/or trusted advisors if you need advice or assistance there shouldn’t be any charge for a phone call
6. Dedicate a small chunk of time every day to review Covid-19 updates
7. Role model best practices for working from home
8. Have confidence in making EAP referrals. HR are often asked to be coach/councillor and sometimes you just won’t have the time to do this at the moment

อ้างอิง: Building resilience for HR During Coronavirus