หมดยุคการเหยียดวัย (Ageism) ปรับมุมมองใหม่ต่อวัยเกษียณ

Published on
Written by

สำหรับกลุ่มคนวัยเกษียณอายุ อาจจะมีหลายคนเข้าใจว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนสูงอายุที่ไม่ทันสมัย ไม่ทันเทคโนโลยี และไม่มีความสนใจในการเรียนรู้หรือใช้งานอุปกรณ์ใหม่ ๆ  แต่ในความเป็นจริงคนเหล่านั้นตัดสินกลุ่มวัยเกษียณผิดไปโดยสิ้นเชิง

ในศตวรรษที่ 21 โลกมีแนวโน้มเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ โดยข้อมูลจาก World Population Prospects: the 2019 Revision พบว่าในปี 2050 1 ใน 6 ของประชากรโลกจะมีอายุมากกว่า 65 ปี เหตุการณ์นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญอย่างหนึ่ง หลายประเทศประสบปัญหากับสัดส่วนผู้สูงอายุในกลุ่มประชากรที่มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลกระทบเกือบทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน ขนส่งคมนาคม สินค้าอุปโภคและบริโภค โครงสร้างครอบครัว รวมถึงตลาดแรงงาน

ในด้านของการทำงาน คนวัยเกษียณส่วนใหญ่ยังคงทำงานได้ดี ในประเทศอเมริกา พนักงานเกือบ 25% มีอายุ 55 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ทัศนคติต่อประชากรกลุ่มผู้ที่มีอายุมากยังคงอยู่ในตลาดแรงงานทั่วไป เห็นได้ชัดในช่วงวิกฤติการณ์ Covid-19 มีกิจการและธุรกิจหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบ และมีผลต่อการดำเนินกิจการและการเงิน กลุ่มพนักงานส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบในการเลิกจ้างเป็นผู้ที่อายุมาก นอกเหนือจากนั้น จากรายงานของ AARP Research พบว่า 3 ใน 5 ของกลุ่มพนักงานที่มีอายุมากประสบปัญหาการเลือกปฏิบัติด้านอายุในการทำงาน และมากกว่า 44% ของผู้หางานที่อายุมากถูกสอบถามถึงอายุในขั้นตอนการสมัครหรือสัมภาษณ์งาน ที่น่าแปลกใจ คือ มีเพียง 3% ของพนักงานกลุ่มนี้ที่ได้ร้องเรียนประเด็นการเหยียดวัย (Ageism) ต่อหัวหน้างานหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

Ashley Martin อาจารย์จาก Stanford Graduate School of Business และ Michael S. North จาก New York University ได้เสนอมุมมองเกี่ยวกับความคิดทั่วไปที่นำไปสู่เรื่องราวของการเหยียดวัย 2 ประเด็น ดังนี้

  1. พนักงานที่อายุมากมีค่าตอบแทนที่สูงกว่า แต่กลับไม่ได้เพิ่มมูลค่าต่อองค์กรมากนัก – คนส่วนใหญ่มองว่า ผู้ที่มีอายุมากในองค์กรได้รับค่าตอบแทนและผลประโยชน์มากกว่าพนักงานที่มีอายุน้อย แต่ให้ประสิทธิภาพงานต่ำ ในความเป็นจริง คนที่มีอายุมากกลับช่วยลดต้นทุนค่าแรงให้กับองค์กร และยังมีทักษะความสามารถที่สร้างมูลค่าให้กับองค์กรได้ ในงานวิจัยของ Mercer  ระบุว่าพนักงานที่มีอายุมากมี EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์ในระดับสูง และมีโอกาสต่ำที่พวกเขาจะลาออกจากงาน ดังนั้น อัตราการหมุนเวียนพนักงานก็จะต่ำลงไปด้วย และมากไปกว่านั้น ยังช่วยแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้และให้คำปรึกษาต่อคนในทีม 
  1. พนักงานที่มีอายุมากมักจะไม่เก่งในด้านเทคโนโลยี และขาดทักษะใหม่ๆ – โฆษณาการตลาดของหลายบริษัทมักจะแสดงภาพลักษณ์ผู้ที่มีอายุมากว่าไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ได้ ทั้งที่ความจริงแล้ว หลายคนกลับมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอย่างที่คาดไม่ถึง เห็นได้จากช่วง Covid-19 ที่หลายบริษัทต้องใช้เทคโนโลยีทำงานมากขึ้น เช่น การประชุมผ่านโปรแกรมออนไลน์ ทำให้หลายคนจำเป็นต้องฝึกใช้งานให้เป็น และนี่คือโอกาสที่แสดงให้เห็นว่า พนักงานที่มีอายุหลายคนสามารถใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งหมายถึงว่ายังมีช่องว่างการพัฒนาทักษะของพนักงานกลุ่มนี้ที่สามารถเติมเต็มได้ การที่พวกเขาทำไม่ได้ มันอาจจะมาจากการที่ยังไม่ได้ทำและฝึกอบรมอย่างจริงจัง

ในโลกนี้มีกลุ่มประชากรที่หลากหลาย ในเรื่องเกี่ยวกับภูมิหลัง ภาษา ประสบการณ์ทำงานและอื่น ๆ เช่นเดียวกับกลุ่มผู้สูงอายุ องค์กรควรพิจารณาด้านการเพิ่มทักษะและการฝึกอบรม มากกว่ามองเฉพาะอายุของพนักงาน อีกทั้งต้องเตรียมความพร้อม สนับสนุน สร้างระบบและวัฒนธรรมที่ดีภายในองค์กรเพื่อให้โอกาสพนักงานกลุ่มนี้สามารถใช้ทักษะความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาก่อให้เกิดคุณค่าต่อองค์กร

LHH เชื่อว่าพนักงานวัยเกษียณอีกมากมายยังคงมีความสามารถ ประสบการณ์และศักยภาพที่สามารถสร้างคุณค่าให้กับชีวิตตนเองเพื่อก้าวสู่ช่วงชีวิตที่ “เกษียณสุข” ดังนั้น การเตรียมตัว เตรียมใจและเตรียมเงิน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โปรแกรม Happy Retirement by LHH Thailand ขอนำเสนอแนวทางการเตรียมตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และแนวความคิดเพื่อออกแบบวิถีการดำเนินชีวิตอย่างมีความหมายและมีความสุข

  • การเปลี่ยนผ่านวัยทำงานมาเป็นวัยเกษียณ (transition to retirement)
  • การเข้าใจถึงการบริหารจัดการชีวิตหลังเกษียณ เพื่อเริ่มต้นวัยเกษียณอย่างมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ
  • การเข้าใจสถานะทางด้านการเงินก่อนและหลังเกษียณทำให้เกิดทางเลือกที่ชัดเจนว่าเงินออมที่มีนั้น พอตามวิถีชีวิตที่ต้องการ (Lifestyle) หรือไม่

Reference

  1. Havard Business Review – Work in the Era of No Retirement 
  2. Mercer – Next Stage Are You Age-Ready?
  3. United Nations – Ageing