แค่เงินชดเชยพอแล้วจริงหรือ ?

Published on
Written by

เมื่อบริษัทมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานด้วยเหตุผลใดใดก็ตาม โดยกฎหมายต้องมีการจ่ายค่าชดเชยซึ่งจะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ความพอใจของนายจ้าง แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนปีที่ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างจำนวนเงินค่าชดเชยจึงเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีเงินค่าชดเชย และค่าบอกล่วงหน้าซึ่งบางที่ก็เรียกค่าตกใจ 

สิทธิ์ที่ลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างต้องได้

ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าหรือ “ค่าตกใจ” ดังนี้ 

  • เลิกจ้างทั่วไป นายจ้างต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดของการจ่ายค่าจ้าง เช่น ถ้าได้ค่าจ้างทุก 30 วัน นายจ้างต้องแจ้งเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 30 วัน ไม่เช่นนั้นจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน 
  • เลิกจ้างเพื่อปรับปรุงหน่วยงาน ลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้งจะได้เงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน 
  • เลิกจ้างเพราะย้ายสถานประกอบกิจการ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้งจะได้รับเงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน นอกจากนี้ในกรณีที่มีการบอกล่วงหน้า แต่ลูกจ้างไม่ต้องการย้ายไปทำงานที่ใหม่ ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 50% ของค่าชดเชยถูกเลิกจ้างที่มีสิทธิ์ได้รับ 

ถ้าลูกจ้างทำงานอยู่กับนายจ้างเป็นเวลานาน ค่าชดเชยก็จะสูง แต่ก็เป็นเรื่องปกติที่มีลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างทำงานอยู่กับนายจ้างได้ไม่นาน ค่าชดเชยก็อาจจะทำให้ชีวิตหลังจากออกจากงานลำบากได้เลย เพราะการหางานใหม่ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย เร็วที่สุดที่ลูกจ้างหางานใหม่ได้อาจจะงานใหม่ภายใน 1 เดือนแต่โดยส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาหางานใหม่โดยเฉลี่ย 3- 6 เดือนตามแต่ความชำนาญและประสบการณ์ของแต่ละคน 

ดังนั้นการใส่ใจให้การดูแลพนักงานที่ถูกบอกเลิกจ้างจึงไม่ควรจบแค่เงินตามกฎหมาย เพราะขั้นตอนและวิธีการสรรหาบุคลากรเปลี่ยนไปอย่างมาก บริษัทข้ามชาติและบริษัทใหญ่มีการนำ AI มาใช้ในขั้นตอนการสรรหา เพื่อให้นายจ้างคัดกรองคนที่มีความสามารถและประสบการณ์ได้อย่างมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น การให้ความช่วยเหลือที่ดีที่สุดสำหรับลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างจึงควรต้องให้การฝึกอบรมการเตรียมตัวเพื่อหาโอกาสในการทำงานในที่ใหม่หรือที่เรียกว่า การให้บริการด้าน Outplacement ในด้านนายจ้างจึงถือเป็นการลงทุนครั้งสุดท้ายให้กับลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้าง เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของนายจ้าง บ่งบอกถึงทัศนวิสัยและแนวคิดของนายจ้างที่ให้ความสำคัญแก่สวัสดิภาพของลูกจ้างโดยรวม ทำให้ลูกจ้างที่เหลืออยู่ยังเชื่อว่าพวกเขาจะถูกดูแลต่อไปอย่างดี 

ในส่วนของลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้าง พวกเขาจะถูกดูแลจากที่ปรึกษาในการทำความเข้าใจสถานการณ์และความจำเป็นของบริษัท ลดความเครียดเพราะเล็งเห็นโอกาสในการหางานใหม่ และเตรียมตัวก้าวต่อไปในการสมัครงานอย่างมีความเข้าใจตลาดแรงงาน และมั่นใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างจะได้รับจากบริการ Outplacement ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในอาชีพการงานในอนาคตได้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ 

เป้าหมายใหม่ของพนักงานที่ถูกบอกเลิกจ้าง มีความต้องการที่แตกต่างกันมากขึ้นอยู่กับการวางแผนชีวิตตั้งแต่ทำงานไปได้ 3-5 ปี แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ได้วางแผนการเงินไว้เผื่อกรณีที่ต้องถูกออกจากงาน ดังนั้นเมื่อต้องประสบกับเหตุการณ์เหล่านี้  ลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างจึงตกใจ เกิดความวิตก กังวลใจในการหางานใหม่ บางคนมีหนี้สินมาก แม้ค่าชดเชยอาจจะยังไม่พอในการใช้หนี้สิน บวกกับขาดรายได้ประจำ และไม่รู้ว่าต้องใช้เวลาเท่าไรในการหางาน จากความกังวลเปลี่ยนเป็นความโกรธ ที่ปรึกษาจากบริการ Outplacement จะช่วยให้พวกเขาวางแผนชีวิตข้างหน้าอย่างเหมาะสม 

เป้าหมายใหม่ 

  • หางานใหม่ แต่ยังคงเป็นงานและในอุตสาหกรรมเดิม  
  • หางานใหม่ยังคงเป็นงานเดิม แต่เปิดโอกาสในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้ 
  • หางานใหม่เปลี่ยนลักษณะงาน แต่ยังอยู่ในอุตสาหกรรมเดิม 
  • หางานใหม่เปลี่ยนลักษณะงานและอุตสาหกรรม 
  • เป็นเจ้าของกิจการในแบบฉบับของตัวเอง 
  • เป็นเจ้าของกิจการแบบซื้อแฟรนไชส์ 
  • ผันตัวไปเป็นที่ปรึกษา 
  • ผันตัวไปเป็นนักลงทุนในหลักทรัพย์ ใน Crypto currency หรืออื่น ๆ 
  • เกษียณสำราญ ซึ่งยังแบ่งได้อีกหลายแบบ เช่น ลงทุนเพื่อ passive income หรือทำงานเล็กน้อยให้เหมาะกับความต้องการ 

บริษัทที่ให้บริการด้าน Outplacement สามารถที่จะออกแบบการฝึกอบรมให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างได้และช่วยสร้างความเข้าใจในแต่ขั้นตอนและวิธีการได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างจะได้ประเมินตัวเองว่าเป้าหมายใหม่ที่ตั้งไว้นั้นเหมาะกับตัวเองหรือไม่ ควรต้องมีการ Upskill หรือ Reskill หรือไม่ อย่างไร 

ในแต่ละโครงการที่มีให้ลูกจ้างเลือกนั้น ต่างมีขั้นตอนและกระบวนการต่างกันออกไป นอกจากการประเมินตนเอง เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกเป้าหมายได้อย่างถูกต้องแล้ว ระยะเวลาในการฝึกอบรมก็ยังสามารถเลือกได้ตามความต้องการของลูกจ้างอีกด้วย  

คำถามที่ผู้เข้าอบรม ยิ่งเป็นการยืนยันว่าการใช้บริการ Outplacement มีความจำเป็นต่อพวกเขาเป็นอย่างมากเช่น 

  • ควรจะบอกผู้สัมภาษณ์งานและคนในเครือข่ายที่เราอยากขอความช่วยเหลือในการฝากเรซูเม่ไปว่าอย่างไรดี  
  • ควรจะบอกที่บ้านและคนในครอบครัวอย่างไร  
  • การถูกบอกเลิกจ้างจะถือเป็นประวัติการทำงานเสียหรือไม่ 
  • การสมัครงานใหม่ แม้ว่าจะยังเป็นสายเดียวกัน จะโดนถูกลดเงินเดือนมั๊ย 
  • ควรต่อรองเงินเดือนอย่างไร 
  • ในสายตาคนทั่วไป การถูกบอกเลิกจ้างเพราะทำงานไม่ดีหรือปล่าว 
  • ส่งเรซูเม่ออกไปแล้ว ไม่ได้รับการติดต่อกลับมาเลย ควรต้องทำอย่างไร 
  • ส่งเรซูเม่ออกไปมากกว่า 50 แห่งแต่ไม่มีใครเรียกเลย ทำอย่างไรดี 
  • ช่วงนี้ไม่มีงานใหม่ ๆ เข้ามาเลย หาจากแหล่งไหนได้บ้างอีก 
  • อยากเปิดโอกาสให้ตัวเอง หางานในต่างประเทศ ควรต้องทำอย่างไร 
  • อยากหางานที่เป็น remote อย่างเดียว ทำอย่างไร 
  • อยากได้งานที่เป็นบริษัทต่างชาติเท่านั้น 
  • ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านดิจิทัลเลย จะได้รับการพิจารณามั๊ย 
  • ประสบการณ์แบบหนึ่ง แต่อยากลองทำงานที่ใกล้เคียงแต่ไม่เคยมีประสบการณ์ตรง ทำอย่างไร 
  • ควรต้อง Upskill / reskill ด้านใดด้านหนึ่งมั๊ย 
  • ติดสัญญากับที่ทำงานเก่า ต้องไม่ทำงานให้กับบริษัทคู่แข่ง หรือบริษัทที่ทำธุรกิจแบบเดียวกัน ต้องทำอย่างไร 
  • บริษัท recruiter ติดต่อมา ต้องทำอย่างไร 
  • ถูกเรียกสัมภาษณ์หลายบริษัท แต่ไม่เคยได้เข้ารอบลึกเลย ทำอย่างไร 
  • ถูกเรียกสัมภาษณ์เข้ารอบสุดท้าย แต่ไม่ผ่าน เพราะอะไร ทำอย่างไร 
  • ผู้สัมภาษณ์แจ้งว่าจะติดต่อกลับมาในสองอาทิตย์ เลยเวลาแล้วแต่ยังไม่ติดต่อมา ทำอย่างไรดี 
  • สัมภาษณ์ผ่านเรียบร้อยแล้ว แต่เงินเดือนน้อยไปกว่าที่เก่า 40% ทำอย่างไรดี 
  • ได้งาน 2 ที่เลือกที่หนึ่ง แต่จะปฏิเสธอีกที่หนึ่งอย่างไรดี  
  • ที่หนึ่งเสนองานมาแล้ว แต่ที่ที่อยากได้ยังไม่เรียกมา ทำอย่างไรดี 
  • มีเงินทุนเท่านี้ เริ่มอาชีพที่เป็นเจ้าของกิจการอะไรดี 
  • อยากขายของออนไลน์ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร  
  • อยากขายของออนไลน์ ทำให้บริษัทมาก่อน คิดว่าทำเองได้ แต่ไม่รู้จะขายอะไร 
  • เป็นคนไม่อดทน ไม่ชอบความยุ่งยาก แต่อยากขายของออนไลน์ ควรมั๊ย 
  • ที่บ้านมีกิจการอยู่แล้ว อยากทำกิจการของที่บ้านต่อ 
  • เริ่มทำสวน ทำไร่ จากที่ดินของที่บ้าน เริ่มต้นอย่างไร 
  • อยากเกษียณแล้ว มีเงินพอใช้ในบั้นปลาย แต่อยากลงทุนให้เกิดเป็น Passive Income 
  • อายุ 57 แล้วยังคิดว่ายังอยากทำงานอยู่ ควรทำอย่างไร 
  • เกษียณแล้ว แต่อยากมีงานที่ไม่หนัก ทำสัปดาห์ละ 2-3 วัน 
  • เกษียณแล้ว แต่อยากทำตัวให้เป็นประโยชน์ อยากทำงานเพื่อชุมชน ผู้ที่ขาดโอกาส อาทิตย์ละ 1-2 วัน  
  • และอีกมากมาย 

สิ่งที่บริษัทด้าน Outplacement มีความชำนาญและให้คำแนะนำ คำนึงถึงความเหมาะสม ความชำนาญ ตลาดแรงงาน แนวโน้มในอนาคตของอุตสาหกรรมนั้น ๆ รวมทั้งช่วยวางแผนให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง มีอนาคตในหน้าที่การงานได้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ มีความหลากหลาย ปรับเข้ากับสถานกาณ์ปัจจุบัน ช่วงสร้างเครือข่าย ช่วยเพิ่มโอกาสในหน้าที่การงานได้อย่างเหมาะสม เพราะประสบการณ์ที่สั่งสมมาย่อมทำให้เห็นหน้าที่ในอนาคตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

LHH (Lee Hecht Harrison) เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Outplacement และ Career Transition ดำเนินงานในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งให้บริการในการช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้างหรือต้องเปลี่ยนสายอาชีพภายในองค์กรและนอกองค์กร

LHH มีบริการ Outplacement และ Career Transition ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของพนักงานทุกระดับ ที่ต้องการพัฒนาอาชีพใหม่ให้สามารถก้าวข้ามขั้นตอนที่ท้าทายของการเปลี่ยนงานหรืออาชีพได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จโดยทีมที่ปรึกษาจาก LHH จะให้คำปรึกษาในเรื่องการพัฒนาทักษะและการเตรียมตัวสำหรับการสมัครงาน อาทิเช่น เทคนิคการสัมภาษณ์งาน การเขียนประวัติการทำงานอย่างย่ออย่างฉบับมืออาชีพ ทราบถึงข้อมูลตลาดงานในปัจจุบัน การสร้างเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ และอื่น ๆ เพื่อให้พนักงานเริ่มต้นในสายงานใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ [email protected] หรือโทร 022586930-35