วางแผนการเงินอย่างไรดี เมื่อถูกบอกเลิกจ้าง

Published on
Written by

เป็นเรื่องที่ต้องตกใจอยู่ไม่น้อยที่อยู่ ๆ ต้องถูกบอกเลิกจ้าง ต้องหางานใหม่โดยไม่รู้ด้วยว่าจะได้งานอีกทีเมื่อไหร่ ควรต้องวางแผนการเงินอย่างไร จะมีทางอื่น ๆ ที่จะหาเงินเข้ามาได้อย่างไร ถ้าไม่ได้มีการลงทุนทางด้านอื่นไว้เลย แน่นอนว่าเงินค่าชดเชยต้องได้วันที่เราถูกให้ออกซึ่งเงินชดเชยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฐานเงินเดือนและจำนวนวันที่ทำงานกับบริษัทนั้น ๆ รวมทั้งเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกด้วย

มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จำนวนเงินที่ต้องได้มีอะไรบ้าง

  1. เงินเดือนเดือนปัจจุบันหรืออาจจะเรียกเงินเดือนเดือนสุดท้าย ซึ่งเป็นเงินที่เราเตรียมเพื่อใช้จ่ายในเดือนถัดไป ถ้าเรายังไม่ได้งานในเดือนถัดไปยังถือว่ายังพเอาตัวรอดในเดือนหน้าได้
  2. เงินค่าชดเชย ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 90 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน
  1. ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าหรือ “ค่าตกใจ” ดังนี้
  • เลิกจ้างทั่วไปนายจ้างต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดของการจ่ายค่าจ้าง เช่น ถ้าได้ค่าจ้างทุก 30 วัน นายจ้างต้องแจ้งเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 30 วัน ไม่เช่นนั้นจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน
  • เลิกจ้างเพื่อปรับปรุงหน่วยงานลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้งจะได้เงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน
  • เลิกจ้างเพราะย้ายสถานประกอบกิจการ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้งจะได้รับเงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน นอกจากนี้ในกรณีที่มีการบอกล่วงหน้า แต่ลูกจ้างไม่ต้องการย้ายไปทำงานที่ใหม่ ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 50% ของค่าชดเชยถูกเลิกจ้างที่มีสิทธิได้รับ

จากสิทธิ์ที่จะได้รับก็น่าจะมีเงินเดือนอย่างน้อย 3 เดือนไว้เป็นต้นทุนสำหรับดูแลตัวเองไปได้ระยะหนึ่งช่วงหางานใหม่ ยิ่งเงินชดเชยน้อยและไม่ได้มีการลงทุนหรือแหล่งรายได้อื่น ๆ เลย จำเป็นที่ต้องหางานให้เร็วที่สุดเพื่อที่จะได้มีเงินใช้ในเดือนถัด ๆ ไปได้อย่างคล่องตัว

ไม่ว่าจะได้เงินชดเชยมากหรือน้อยก็ตาม เราควรจะต้องวางแผนการใช้เงินเป็นอย่างดีที่สุด เพื่อจะได้นำส่วนที่เหลือไปลงทุนด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นซื้อกองทุนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดดอกออกผล

เมื่อได้รับเงินมาคนส่วนใหญ่เชื่อว่าควรต้องไปปิดหนี้สินต่าง ๆ ซึ่งก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ก่อนที่จะปิดหนี้ควรต้องคำนวณก่อนว่าเรามีภาระและค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่เท่าไร และจำเป็นจะต้องกันเงินจำนวณนี้ไว้อย่างน้อย 6 เดือนเพราะการหางานใหม่ในปัจจุบันไม่ได้ง่ายอีกต่อไป เพราะมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างเช่น

  • อายุ โดยเฉพาะคนที่ถูกออกจากงานในช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป ถ้าไม่มีความชำนาญเฉพาะทางและไม่มีเน็ตเวิร์ค อาจจะหางานได้ยากกว่าคนที่มีความชำนาญเฉพาะ
  • ลักษณะงานที่ถูกแทนด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเหตุผลหลักในการที่ถูกจ้างออกจากงานเพราะตำแหน่งเหล่านั้นไม่ได้ถูกกำหนดในกำลังคนอีกต่อไปแล้ว
  • แนวโน้มของอุตสาหกรรมที่ทำอยู่ก่อนเริ่มไม่เป็นที่จำเป็นในยุคปัจจุบันและในอนาคต เช่น โรงงานผลิตอุปกรณ์ป้องกันซึ่งมีความต้องการสูงในช่วงที่มีโควิด 19 ระบาดแต่ตอนนี้ความต้องการดังกล่าวลดน้อยลงเป็นอย่างมากทำให้การผลิตลดลงเช่นกัน
  • การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมบางอย่างเช่น สายเทคโนโลยี เมื่อเติบโตก็โตขึ้นอย่างรวดเร็วมีการรับคนเข้ามาทำงานมากมาย และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทั้งสถานการณ์และตัวเทคโนโลยีเอง ก็ทำให้เกิดการเลิกจ้าง
  • จำนวนคนที่หางานแม้ว่าจะมีความชำนาญเฉพาะด้านก็ตามมีมากกว่าจำนวนตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร

ดังนั้นการสำรองเงินค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมที่สุดควรต้องสำรองไว้อย่างน้อย 6 เดือนถ้าได้งานเร็วกว่านั้นก็สามารถนำเงินที่เหลือไปใช้จ่ายลดภาระหนี้สินได้

มีคำถามมากมายว่าควรปลดภาระผ่อนบ้านหรือไม่ ต้องกลับไปดูที่เงื่อนไขของระยะเวลาที่เหลือ เพราะถ้ายังเหลืออีกเยอะ อาจจะใช้ส่วนหนึ่งตัดเงินต้นเพื่อให้เงินต้นที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนสูงกว่าดอกเบี้ย เพราะการผ่อนชำระหนี้กู้ซื้อบ้านถือเป็นดอกเบี้ยต่ำสุดและการจะได้รับพิจารณาการกู้เงินซื้อบ้านใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย

ควรจะพิจารณาชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยสูง ๆ เช่นเงินกู้นอกระบบที่จ่ายไปไม่มีวันจบ หรือหนี้บัตรเครดิตและควรพิจารณาลดจำนวนบัตรให้เหลือแค่จำเป็นหรือยกเลิกการใช้บัตรเครดิตเพื่อสร้างพฤติกรรมการใช้เงินใหม่ให้กับตัวเอง

นอกเหนือจากนี้ควรวางแผนการใช้เงินในแต่ละเดือนโดยคำนึงถึงค่าใช่จ่ายที่จำเป็น และค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและอาจจะลดเพิ่มให้เหมาะสมกับเงินที่มีอยู่ ลองใช้ตารางนี้เป็นเกณฑ์ในการวางแผนการใช้เงินในแต่ละเดือน

  1. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
  • เงินสะสที่สะสมไว้ทุก ๆ ครั้งที่ได้รับค่าจ้าง โดยที่นายจ้างจะหักตั้งแต่ 2% – 15% ของค่าจ้างตามที่ได้ตกลงกันไว้โดยคาดหวังว่าจะเก็บไว้ใช้เมื่อออกจากงาน หรือเมื่อตอนที่เกษียณอายุ
    เงินสมทบ คือส่วนที่นายจ้างสมทบเข้าไปในกองทุนพร้อม ๆ กับเงินสะสม ถือได้ว่าเป็นสวัสดิการประเภทหนึ่งที่นายจ้างมอบให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุนตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ 2% – 15% ของค่าจ้าง เพื่อให้พนักงานมี เงินก้อนไว้ใช้เมื่อไม่ได้ทำงานกับนายจ้างแล้ว
  • ผลประโยชน์ของเงินกองทุน เป็นส่วนที่งอกเงยมาจากการบริหารกองทุนของบริษัทจัดการ

ซึ่งจำนวนนี้จะถูกนำมาคำนวณภาษีดังนี้

กรณีที่ออกจากงานและมีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้น เงินที่ได้รับจากกองทุน สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 : ลดหย่อนได้ = 7,000 x อายุงาน
ส่วนที่ 2 : ที่เหลือหักออกอีกร้อยละ 50
เงินได้สุทธิ หลังหักค่าใช้จ่ายข้างต้น จะนำไปคำนวณตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แยกยื่นภาษี โดยไม่ต้องนำไปรวมกับรายได้อื่นเพื่อคำนวณภาษีอีก
• กรณีพิเศษ ยกเว้นภาษีทั้งจำนวน ในกรณีดังต่อไปนี้
1) ออกจากงานเมื่ออายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และเป็นสมาชิกสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี ต่อเนื่องกัน (55+5)
2) ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต

ในส่วนนี้ถ้าไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้เงิน อาจจะฝากกองทุนเดิมไว้ก่อนซึ่งมีค่าธรรมเนียมซึ่งน้อยมากและคุ้มค่ากว่าเมื่อต้องนำไปคำนวณภาษี และเมื่อได้งานใหม่และสามารถสมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่ได้แล้วค่อยโอนเงินก้อนนั้นมาเก็บไว้ต่อไป

  1. เงินชดเชยประกันตน ม. 33

เงื่อนไขของการได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคมแตกต่างกันคือ

  • กรณีลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินว่างงานในอัตรา 30% ของค่าจ้าง คำนวณจากฐานเงินเดือนจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 90 วันใน 1 ปีปฏิทิน

ตัวอย่าง ผู้ประกันตนมีฐานเงินเดือน 10,000 บาท ก็จะได้เงินชดเชยเดือนละ 3,000 บาท เป็นเวลาสูงสุด 3 เดือน หรือผู้ประกันตนมีฐานเงินเดือน 20,000 บาท ก็จะได้นับเงินชดเชยเดือนละ 4,500 บาท เป็นเวลาสูงสุด 3 เดือน (คิดจากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)

  • กรณีถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินว่างงานในอัตรา 50% ของค่าจ้าง ซึ่งคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 180 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน

ตัวอย่าง ผู้ประกันตนมีฐานเงินเดือน 10,000 บาท ก็จะได้เงินชดเชยเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลาสูงสุด 3 เดือน หรือผู้ประกันตนมีฐานเงินเดือน 20,000 บาท ก็จะได้นับเงินชดเชยเดือนละ 7,500 บาท เป็นเวลาสูงสุด 3 เดือน (คิดจาก ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)

นอกเหนือจากนี้ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมว่างงานก่อน ผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางานภายใน 30 วันหลังจากออกจากงานโดยต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม และต้องรายงานตัวออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน เดือนละ 1 ครั้ง

เพียงทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ ก็จะสามารถวางแผนการเงินได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

LHH (Lee Hecht Harrison) เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Outplacement และ Career Transition ดำเนินงานในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งให้บริการในการช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้างหรือต้องเปลี่ยนสายอาชีพภายในองค์กรและนอกองค์กร

LHH มีบริการ Outplacement และ Career Transition ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของพนักงานทุกระดับ ที่ต้องการพัฒนาอาชีพใหม่ให้สามารถก้าวข้ามขั้นตอนที่ท้าทายของการเปลี่ยนงานหรืออาชีพได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จโดยทีมที่ปรึกษาจาก LHH จะให้คำปรึกษาในเรื่องการพัฒนาทักษะและการเตรียมตัวสำหรับการสมัครงาน อาทิเช่น เทคนิคการสัมภาษณ์งาน การเขียนประวัติการทำงานอย่างย่ออย่างฉบับมืออาชีพ ทราบถึงข้อมูลตลาดงานในปัจจุบัน การสร้างเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ และอื่น ๆ เพื่อให้พนักงานเริ่มต้นในสายงานใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ [email protected] หรือโทร 022586930-35