การบอกเลิกจ้างสำคัญขนาดไหน

Published on
Written by

หัวข้อที่อยากจะเอามาพูดถึงในวันนี้ “การบอกเลิกจ้างสำคัญขนาดไหน” เพื่อเป็นการยืนยันว่าการบอกเลิกจ้างจำเป็นขนาดไหน  

คงต้องเอาพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และ 17/1 มาอ้างอิง พูดง่าย ๆ ก็คือ ถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย” ซึ่งทั้งสองมาตราจะครอบคลุมทั้งจำนวนเงินและระยะเวลาการจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกจ้าง  

กฎหมายไม่ได้ห้ามให้นายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้ ซึ่งก็คือนายจ้างสามารถบอกเลิกจ้างลูกจ้างได้เมื่อมีเหตุผลจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจของนายจ้าง และในความจริงลูกจ้างบอกเลิกจ้างต่อนายจ้างหรือ “ลาออก” เป็นจำนวนที่เยอะกว่ามากมาย ดังนั้นกฎหมายแรงงานจึงต้องคุ้มครองทั้งลูกจ้างและนายจ้างอย่างเป็นธรรม 

ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหมายถึงเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งมีอัตราที่ชัดเจนตามจำนวนวันที่ลูกจ้างได้ทำงานให้กับนายจ้าง 

รวมทั้งกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบ มาตรา 17/1 นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ นับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผลตามมาตรา 17/2 โดยให้จ่าย ในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน 

ซึ่งวันนี้จะไม่ได้พูดถึงความจำเป็นของนายจ้างว่าทำไมต้องเลิกจ้าง แต่จะชี้ให้เห็นว่ากฎหมายแรงงานไทยให้ความคุ้มครองทั้งนายจ้างลูกจ้างอย่างเป็นธรรม เพราะการบอกเลิกจ้างสามารถทำได้แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมายเพื่อความถูกต้อง รักษาความยุติธรรม และลดปัญหาการฟ้องร้อง รวมทั้งยังคงรักษาภาพพจน์ของนายจ้างไว้อีกด้วย

ในส่วนของค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายให้พนักงานเองก็ยังประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 

  1. ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือมักใช้คำว่า ค่าตกใจ ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยในส่วนนี้ล่วงหน้า 1 งวดของการจ่ายค่าจ้าง เช่น หากจ้างกันเป็นเดือนหรือ 30 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นจำนวน 30 วัน
  2. ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามจำนวนเงินเดือนและอายุการทำงานดังนี้
    อายุงาน 120 วัน – 1 ปี = ได้รับเงินชดเชยอัตราค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน
    อายุงาน 1 – 3 ปี = ได้รับเงินชดเชยอัตราค่าจ้างสุดท้าย 90 วัน
    อายุงาน 3 – 6 ปี = ได้รับเงินชดเชยอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน
    อายุงาน 6 – 10 ปี = ได้รับเงินชดเชยอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
    อายุงาน 10 – 20 ปี = ได้รับเงินชดเชยอัตราค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน
    อายุงาน 20 ปีขึ้นไป = ได้รับเงินชดเชยอัตราค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน

นอกจากส่วนที่เป็นของนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยจากการบอกเลิกจ้างแล้ว การให้ความช่วยเหลือ เช่น การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างเช่นการลดเงินสมทบประกันสังคม 3 เดือน การคำนวณภาษี กองทุนสำรองเลียงชีพ การรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากประกันสังคม การติดต่อเพื่อรับ ภงด.91 หรืออื่น ๆ เพราะการดูแลจากนายจ้างที่ดี สร้างความมั่นคงในจิตใจให้กับลูกจ้างได้เป็นอย่างดี ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างเองควรต้องเตรียมให้การดูแล ให้ความรู้แก่ลูกจ้าง เพราะปัญหาส่วนใหญ่คือลูกจ้างไม่รู้ว่าหลังจากการเลิกจ้างแล้วควรต้องทำอะไร ติดต่อใคร ประโยชน์อื่น ๆ ที่ควรได้รับจากประกันสังคมมีอะไรบ้าง ดังนั้นนายจ้างควรต้องเตรียมการให้เหมาะสม 

อย่างไรก็เมื่อนายจ้างเข้าใจสิ่งถึงที่ลูกจ้างควรได้รับจากการบอกเลิกจ้างทางกฎหมายแล้ว แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือกระบวนการหรือขั้นตอนการบอกเลิกจ้าง ควรมีวิธีการสื่อสารอย่างไร วิธีไหน เนื้อหาในการสื่อมีอะไรบ้าง เหตุผลที่บริษัทต้องเลิกจ้าง และการสื่อสารและการปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างให้เกียรติคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของลูกจ้าง กระบวนการเหล่านั้นต้องมีการคัดกรอง มีผลกระทบต่อคนที่เหลือน้อยที่สุด ควรทำอย่างไรเพื่อให้ลูกจ้างยอมรับการบอกเลิกจ้างและไม่นำไปสู่กระบวนการฟ้องร้อง หรือกลายเป็นการบอกเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การกำหนดกลยุทธ์ให้ตรงกับเป้าหมายทางธุรกิจซึ่งผู้ชำนาญก็จะสามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมให้ได้มากกว่า เพราะมีประสบการณ์มากกว่า และสามารถมองเห็นแนวโน้มที่อาจจะก่อให้เกิดเป็นปัญหาในอนาคตได้ดีกว่า 

ยิ่งกว่านั้น ช่วยให้นายจ้างสร้างภาพลักษณ์ที่ดี มีการปฏิบัติที่ให้ความสำคัญต่อลูกจ้างเพิ่มคุณค่าให้กับนายจ้างอีกด้วย โดยมีโปรแกรมช่วยสานต่อด้านอาชีพให้ลูกจ้าง เพราะพวกเขาเหล่านั้นอาจจะทำงานกับนายจ้างมานาน ขาดความเข้าใจ ความรู้และขั้นตอนการหางาน อีกทั้งกระบวนการสรรหางานก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการสรรหา ลูกจ้างควรจะทำอย่างไร 

เมื่อขั้นตอนการบอกเลิกจ้างเป็นไปอย่างเป็นธรรม ส่งผลดีต่อลูกจ้างทำให้เข้าใจสถานการณ์ของนายจ้างได้ดียิ่งขึ้น ก็ถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้นายจ้างอีกด้วย 

การให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญ มีความเข้าใจในขั้นตอน กฎหมาย วิธีการแก้ปัญหา รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือลูกจ้างในการเตรียมตัวหางานใหม่ ปรับตัวในช่วงไม่มีงานและการเริ่มงานในที่ใหม่ การเตรียมค่าใช้จ่าย เงินสำรอง การประเมินตนเอง ความสามารถและทักษะในงานที่มีอยู่และสามารถถ่ายทอดได้ เพราะเป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุดของลูกจ้าง  

การบอกเลิกจ้างจึงต้องเป็นไปอย่างมีคุณธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย สิ่งใดที่เป็นประโยชน์สูงสุดของลูกจ้าง นายจ้างควรที่จะต้องถือเป็นความจำเป็น และให้การส่งเสริมสนับสนุนให้ดีที่สุด