เริ่มต้นใหม่ด้วย Career Transition และ Outplacement Service

Published on
Written by

การสานต่องานอาชีพ (Career Transition หรือ Outplacement Service) เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นการช่วยเสริมสร้างโอกาสให้กับบุคคลที่กำลังถูกบอกเลิกจ้างหรือต้องเปลี่ยนงานในอนาคต โดยให้ความสนับสนุนในการเริ่มต้นอาชีพใหม่อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนในการสานต่องานอาชีพเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถมอบผลประโยชน์และช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคคลในช่วงเวลาที่ยากลำบากจากการถูกบอกเลิกจ้าง เราจะพาคุณไปรู้จักกับขั้นตอนพื้นฐานในการสานต่องานอาชีพที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงอาชีพ เพื่อให้คุณเริ่มต้นได้ง่ายยิ่งขึ้นและมีทิศทางชัดเจนในการสร้างอาชีพใหม่ของคุณ

ขั้นตอนในการสานต่องานอาชีพ (Career Transition หรือ Outplacement Service)

  1. การเริ่มต้นหางาน ต้องมองโลกในแง่ดีและพร้อมที่จะลงมือทำ นอกจากนั้น ยังต้องสำรองพลังงาน ความคิดริเริ่มและความ กล้าไว้เผชิญกับสิ่งต่าง ๆ ที่รออยู่เบื้องหน้า ด้วยการไม่มีงานทำ ทำให้คุณขาดปัจจัยสนับสนุน ซึ่งหมายถึงกิจวัตรที่คุณต้อง ทำเป็นประจำ คือ ตื่นนอนแต่เช้า เดินทางไปทำงาน พบปะผู้คน และเป็นส่วนหนึ่งของทีม การขาดปัจจัยสนับสนุนเหล่านี้ ทำให้คุณมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อถือ เจ็บปวด สงสัยในตัวเอง กลัวและโกรธได้ แต่ถ้ามองอีกมุม การตกงานอาจช่วย ให้คุณได้คลายเครียด และมีโอกาสกลับมาประเมินลักษณะงานที่ชอบใหม่ การเกิดความรู้สึกดังกล่าวเป็นเรื่องปกติ เพราะ คุณเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา แต่เมื่อตระหนักรู้และเปิดเผยความรู้สึกเหล่านั้นออกมาแล้ว คุณก็พร้อมที่จะก้าวต่อไปเพื่อ มองหางานใหม่เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม LHH นำปัจจัยด้านอารมณ์ที่จะเกิดกับคุณมาพิจารณาในการหางานด้วย เพื่อช่วยให้ คุณระดมสรรพกำลังมาใช้กับการหางานได้อย่างเต็มที่ 
  2. การประเมินตนเอง ทำให้คุณตระหนักถึงข้อดีและลำดับความสำคัญของงาน เป็นการช่วยทบทวนสถานการณ์ปัจจุบัน อดีต ที่ผ่านมา ผลงาน ความต้องการ และลักษณะงานที่คุณพอใจ ทำให้คุณได้เรียนรู้ตัวเองและสามารถหางานที่เหมาะสมกับตนเองได้ นอกจากนั้น คุณยังมีโอกาสได้ปรับเปลี่ยนเป้าหมายในอาชีพการทำงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 
  3. การเตรียมประวัติการทำงาน (Resume) บุคคลอ้างอิง และจดหมายนำ หลังจากรู้จักตัวเองดีขึ้นแล้ว คุณจะต้องเขียน ทักษะ ข้อดี และผลงานที่ประสบความสำเร็จของตัวเองลงในกระดาษ เพื่อใช้ข้อมูลเหล่านั้นมาเขียนประวัติในการทำงาน (Resume) และบุคคลอ้างอิงอีกที 
  4. การประเมินตลาดจ้างงาน สำรวจตลาดแรงงานเพื่อหาแหล่งที่มีอยู่ทั้งที่ลงโฆษณาและไม่ได้ลงโฆษณา เวลาที่คุณเริ่มหางานอย่างจริงจังโดยเน้นไปที่ประเภทอุตสาหกรรม บริษัท และตำแหน่งที่ต้องการนั้น คุณจะต้องค้นคว้าหาข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับสิ่งที่คุณสนใจ 
  5. การทำแผนการตลาดส่วนตัว เป็นการช่วยยืนยันว่าคุณกำลังเดินไปบนเส้นทางที่คุณต้องการ และช่วยจัดลำดับสิ่งสำคัญที่คุณต้องทำเป็นลำดับต้น ๆ เพื่อลดการเสียเวลาและพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ 
  6. การพัฒนากลยุทธ์และเครื่องมือในการหางาน การหางานจะเริ่มขยายวงกว้างออกไป เมื่อคุณเริ่มคุ้นเคยกับกลยุทธ์การเจาะตลาดแรงงาน คุณจะได้เรียนรู้วิธีสร้างเครือข่ายในแวดวงเพื่อนและคนรู้จักและติดต่อสำนักจัดหางานนอกจากนั้น คุณยังจะได้รับคู่มือหาบริษัทที่คุณสนใจเป็นพิเศษ วิธีส่งหนังสือสมัครงานตามที่ลงโฆษณา และวิธีแต่งจดหมายที่เกี่ยวข้องกับการสมัครงานอย่างมีประสิทธิภาพ 
  7. การเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน คุณจะได้เรียนรู้เทคนิคที่ใช้ในการสัมภาษณ์แบบต่าง ๆ และวิธีคาดการณ์คำถามล่วงหน้า หากขาดทักษะนี้แล้วการสัมภาษณ์งานอาจดูเป็นเรื่องน่ากลัว 
  8. การบริหารการหางาน เป็นการช่วยให้คุณหางานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการวางแผนหางานอย่างเป็นระบบการติดตามผลและตรวจสอบดูความคืบหน้า 
  9. การเจรจาต่อรองให้ประสบความสำเร็จ เมื่อทำตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้ว คุณอาจจะได้รับข้อเสนอการทำงานจากบริษัทที่ไปสัมภาษณ์ ดังนั้น ในส่วนนี้จึงสอนวิธีประเมินข้อเสนอการทำงาน และเจรจาต่อรองขอบเขตงาน เงินเดือนและผลประโยชน์อื่น ๆ 
  10. ช่วงเปลี่ยนงานใหม่ เมื่อคุณได้รับข้อเสนอทำงานแล้ว คุณจะต้องเตรียมตัวรับงานใหม่ โดยเรียนรู้จากบทเรียนที่ผ่านมาในอดีต เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้าหานายใหม่ และเหนือสิ่งอื่นใด คือ คุณต้องทำงานให้ดีที่สุดในช่วง 2-3 เดือนแรก เมื่อผ่านช่วงนี้ ไปแล้ว บริษัทก็จะรับคุณเข้าเป็นพนักงานประจำ