“Well being” ความคาดหวังใหม่ของพนักงานในยุคปัจจุบัน

ความคาดหวังของพนักงานกำลังจะเปลี่ยนไป นี่คือสิ่งที่นายจ้างควรจะให้ความสำคัญ 

ผลจากแบบสอบถามของพนักงานทั่วโลกกว่า 10 ล้านคน ยืนยันว่าความสำเร็จของธุรกิจในอนาคตนั้น นายจ้างต้องนิยามและส่งมอบความคาดหวังที่หลากหลายของพนักงานได้ และที่สำคัญที่สุดคือ พนักงานเหล่านั้นมีความต้องการที่จะร่วมงานให้กับองค์กรที่สนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีทั้งในด้านจิตใจและร่างกาย

ช่องว่างระหว่างความคาดหวังของพนักงานและความเป็นจริงที่ประสบ (ในการทำงาน) ทำให้บริษัทของคุณล้าหลังอยู่รึเปล่า?

“มันมีช่องว่างความคาดหวังใหญ่ ๆ ระหว่างสิ่งที่พนักงานรู้สึกและสิ่งที่องค์กรเชื่อว่าได้จัดหาให้กับพนักงานอยู่ ในอนาคตองค์กรที่สามารถบรรลุความคาดหวังนั้นได้จะประสบความสำเร็จมากขึ้น”, Patrick Cournoyer, Chief Evangelist at Peakon

บทสรุปของผลสำรวจเกี่ยวกับความคาดหวังของพนักงาน และความเป็นอยู่ที่ดี (Well being) ผ่านรายงาน Heartbeat ที่ให้ข้อมูลเชิงลึกจากการตอบแบบสอบถามของพนักงานทั่วโลกกว่า 90 ล้านคน เพื่อช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ เข้าใจและตระหนักถึงความคาดหวังของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากข้อมูลของ Peakon พบว่าคำตอบ 59% จาก 90 ล้านคน ไม่ได้มีส่วนร่วม (disengaged) ในงานของตัวเองเมื่อตอนต้นปี 2020 อย่างไรก็ตามคำถามที่ไม่ค่อยมีใครเข้าใจคือ “ทำไม”?

โดยปกติแล้ว หากการมีส่วนร่วมของพนักงานต่ำ (low engagement) มักจะถูกคิดว่าเป็นเพราะมีผู้นำที่อ่อนแอหรือผู้นำที่นิสัยแย่ (toxic and weak leadership) การขาดความโปร่งใส (transparency) และความรับผิดชอบ (accountability) ในระดับองค์กร และอัตราการลาออก (turnover) ของพนักงานอยู่ในระดับสูง ขณะที่ปัจจัยเหล่านั้นยังมีบทบาทอยู่ นายจ้างต้องทำการขุดให้ลึกขึ้นอีกนิดถึงความสัมพันธ์กับลูกจ้างเพื่อทำความเข้าใจว่า “ทำไม” อัตราการมีส่วนร่วมถึงได้ต่ำ

การมีส่วนร่วมของพนักงานส่วนใหญ่มาจากสิ่งที่พนักงานในวันนี้คาดหวังจะได้จากงานและสำคัญมากกว่าไปนั้นคือได้จากนายจ้าง สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ผู้คนจำนวนมากต้องเผชิญกับการหยุดชะงักในชีวิตการทำงานจากปัญหาด้านสุขภาพสังคมเศรษฐกิจและการเมือง

Emerging Expectations ความคาดหวังที่ปรากฏขึ้น

จากรายงานความคาดหวังของพนักงาน ปัจจุบันพนักงานคาดหวังให้งานของพวกเขาช่วยจัดการปัญข้อกังวลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผลักดันให้บริษัทสร้างการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน พนักงานคาดหวังให้นายจ้างของพวกเขาไม่เพียงแค่แบ่งปันคุณค่า แต่อยากให้แสดงถึงความเต็มใจในการจัดการเรื่องดังกล่าวด้วย

“พนักงานคาดหวังว่านายจ้างของพวกเขาจะพยายามอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างวัฒนธรรมที่หลากหลายและครอบคลุม จากความจริงใจมากกว่าที่จะทำเครื่องหมายถูกในช่องสี่เหลี่ยมว่าทำแล้วหรือเพื่อสนับสนุนผลลัพธ์ทางการเงิน

18% ของพนักงานทั่วโลกตระหนักขึ้นถึงการทำงานที่ยืดหยุ่นและการทำงานที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ และผลสำรวจจาก LinkedIn ล่าสุดจาก 1,590 บริษัท ยืนยันว่าพนักงานส่วนใหญ่ต้องการความยืดหยุ่น เมื่อถูกถามให้เลือกระหว่างกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ ทำงานจากบ้าน (WFH) ต่อ หรือ เลือกการทำงานแบบยืดหยุ่น ผสมกัน มีเพียง 5 % ของผู้เข้าสำรวจอยากกลับไปทำงานเต็มเวลาที่ออฟฟิศ  และคนส่วนใหญ่อีก 73% ต้องการวิธีการทำงานที่ยืดหยุ่น และผสมกันระหว่างทำงานที่บ้านและทำงานจากออฟฟิศ

“ธุรกิจต้องรับรู้ถึงเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วย ให้พนักงานแต่ละคนเจริญเติบโต ขณะที่ยังรักษาสมดุลของความต้องการในหน้าที่และความต้องการในชีวิตได้ และให้พวกเขามีอิสระในการทำเช่นนั้น” – คำแนะนำจาก  Patrick Cournoyer

Well-being is a top priority ความผาสุกเป็นสิ่งสำคัญ

ความคาดหวังของพนักงานคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในประเด็นเรื่องความเป็นอยู่ที่ดี พนักงานโดยรวมตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับปัญหาความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่มขึ้น 17% ในทุกกลุ่มประชากร ผู้ตอบแบบสอบถาม ในขณะที่ Gen Z เพิ่มขึ้น 28%

Leaders are evolving ผู้นำกำลังจะเปลี่ยนไป 

ในบางองค์กร การสร้างความตระหนักที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของจิตใจและร่างกายที่ดี เป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะผู้นำหลาย ๆ คนเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น และสนใจแค่ในแง่มุมของการทำงาน  หรือเพียงแค่การทำงานให้เสร็จลุล่วงทันเวลาและอยู่ในงบที่ตั้งไว้ โดยไม่คำนึงถึงค่าผ่านทางสำหรับคนที่พวกเขาเป็นผู้นำ

เป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรที่จะต้องมองลึกเข้าไปในตำแหน่งผู้นำของตน สำหรับคนที่ไม่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงเป็นอันดับต้น การ Coaching and Development นั้นอาจเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อปลูกฝังทักษะในการสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

“ต้องดำเนินการในฐานะองค์กร มุ่งเน้นไปที่ความต้องการและความคาดหวังของพนักงาน โดยเฉพาะในเรื่องความเป็นอยู่ที่ดี ต้องจัดการโดยทันที เพราะมันไม่เพียงพอที่จะใส่สิ่งนี้ไว้ในโครงการแล้วไม่ทำอะไรเลย การเป็นอยู่ที่ดีคือการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง”

ในรายงานยังกล่าวถึงความต้องการของหัวหน้าหรือผู้นำให้ใจเย็น ๆ กับพนักงานที่ต้องทำงานจากบ้าน เพราะมันเน้นย้ำถึงผู้นำที่ได้ผ่านการพัฒนา Soft skills มาแล้ว เช่น ความสามารถในการเข้าอกเข้าใจผู้อื่น การมีเมตตา และความชัดเจนที่เกี่ยวกับความคาดหวังของงาน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณกำลังพิจารณาความเป็นอยู่ที่ดีและปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลกระทบต่อพนักงานและก่อให้เกิดความเครียดได้อย่างครบถ้วน

Redefining what “productivity” means ความหมายใหม่ของคำว่า “ประสิทธิผล” 

เพิ่มเติมจากรายงานความคาดหวังของพนักงาน สรุปถึงวิธีการตอบสนองต่อโรค Covid-19 ของพนักงานว่า ปัญหาความเป็นอยู่ที่ดี ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง รวมไปถึงความเครียดที่เกิดขึ้นจากการต้องทำงานไกลจากสภาพแวดล้อมในออฟฟิศ

พนักงานกำลังกังวลเกี่ยวกับการที่องค์กรจะเห็นความกระตือรือร้นในการทำงานอย่างไรเมื่อพวกเขาต้องทำงานจากบ้าน พวกเขาไม่มั่นใจและกังวลว่าจะไม่ถูกมองว่ามีความกระตือรือร้นหากไม่ได้ตอบอีเมลโดยทันที นี่คือปัญหาของความไว้วางใจ และมันก็เป็นปัญหาใหญ่ที่ตระหนักถึงในตอนนี้

มันจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำต้องกำหนดมาตรฐานใหม่ให้ทั้งสำหรับนายจ้างและลูกจ้างเพื่อประเมินความก้าวหน้าและประสิทธิผลของงานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างออกไป

 “ผู้นำควรจะให้ความสำคัญในเรื่องของผลลัพธ์มากกว่า และให้ความสำคัญกับเรื่องเล็กอย่างสัญญาณที่มักทำให้เข้าใจผิดน้อยลง มันเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับทุกคน และพนักงานทุกคนไม่มีความมั่นใจในตัวนายจ้างว่าจะมองเห็นถึงประสิทธิผลการทำงานของพวกเขาอย่างไรเมื่อต้องปฏิบัติงานนอกสถานที่”

 

อ้างอิง: https://www.lhh.com/us/en/organizations/our-insights/employee-expectations-are-changing-here-s-where-employers-need-to-focus

สำหรับ Organization training and Leadership development ติดต่อได้ที่ [email protected] หรือ 022586930-35

ติดตามข่าวสารเพิ่มได้ที่ Facebook: LHH Thailand และ LinkedIn: LHH Thailand